อยากสร้างบ้าน แบบบ้านสวยๆ และโดนใจจะหาได้จากที่ไหน หาแบบบ้านได้แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบบ้านที่เห็นกันเกลื่อนกลาดในอินเตอร์เน็ทจะใช้ได้ เอาไปสร้างบ้านได้จริงๆ เชื่อว่านี่คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคน หรืออาจจะยังมีหลายๆ คนไม่ทันได้ฉุกคิดเรื่องนี้ เพราะกำลังหลงใหลอยู่กับภาพ Perspective ของแบบบ้านที่ได้รับการตกแต่งมาอย่างสวยงาม แต่ไม่ว่าจะทันได้ฉุกคิดหรือไม่ก็ตาม เรามีวิธีพิจารณาแบบบ้านจากเว็บไซต์ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ทมาให้ได้อ่านกัน เพื่อนำไปประกอบการใช้หาแบบบ้านสวยๆ เพื่อมาประยุกต์ใช้กับบ้านที่กำลังจะก่อสร้างของตนเอง


วิธีการดูว่าแบบบ้านในอินเตอร์เน็ต ว่าใช้กับบ้านของเราได้จริงๆ หรือไม่
1.    อย่าเพิ่งหลงใหลไปกับภาพ Perspective ที่ตกแต่งแบบบ้านไว้อย่างสวยงาม
ภาพ Perspective หรือแปลตามคำศัพท์ทางสถาปัตย์ง่ายๆ ว่า “ทัศนียภาพ” ภาพนี้คือภาพที่ผ่านการตกแต่งอย่างสวยงามไม่ว่าจะในแง่ของภาพบ้านสามมิติที่ผ่านโปรแกรมต่างๆ มาเรียบร้อยแล้วเช่น 3Ds Max, SketchUP ฯลฯ แล้วถูกนำมาตกแต่งอีกต่อหนึ่งด้วยโปรแกรม Photoshop ซึ่งได้ขึ้นชื่อเป็นโปรแกรมตัดต่อรูปภาพยอดนิยม ซึ่งกว่าภาพบ้าน 1 หลังจะเสร็จออกมาพร้อมสู่สายตาของลูกค้านั้นผ่านหลายขั้นตอน หลายกระบวนการ มีการตกแต่งเพิ่มเติมทั้งภาพบรรยากาศ แสง สีสัน ให้ชวนฝันน่าหลงใหล แต่ดึงดูดให้ลูกค้าที่ไม่ว่ากำลังจะซื้อเฉพาะแบบบ้าน หรือซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากโครงการต่างๆ หยุดอยู่ที่ภาพ Perspective นี้ จนลืมมองข้อเสียอื่นๆ ไป

2.    คำนึงถึงการจัดห้องหับต่างๆ ภายในบ้าน ว่ามีการจัดวางถูกตำแหน่งของ Zoning อย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพราะการจัดวาง Zoning ภายในบ้านถือเป็นเรื่องพื้นฐานของการออกแบบบ้านที่นักออกแบบ หรือสถาปนิกทุกคนต้องใส่ใจ การจัดวางห้องผิด zoning ย่อมกระทบต่อการใช้งานและผู้อยู่อาศัยอย่างแน่นอน แต่ในเมื่อเราไม่ใช่นักออกแบบ ไม่ใช่สถาปนิก เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าห้องไหนควรติดกัน ห้องไหนควรจัดให้ห่างกัน ห้องไหนแขกเข้าได้ ห้องไหนเข้าได้เฉพาะเจ้าของบ้าน ตัวอย่างง่ายๆ ของการวางโซนนิ่ง เช่น ห้องนอน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัว จัดอยู่ใน Private Zone ไม่ควรถูกออกแบบให้ใกล้กับห้องรับแขกที่เป็นส่วน Public ซึ่งเป็นส่วนสาธารณะที่ทั้งเจ้าของบ้านและแขกที่มาเยี่ยมใช้งานได้ มันคงไม่โสภาเท่าไรนักที่เราจะออกจากห้องในชุดนอน เดินผ่าตรงไปยังห้องรับประทานอาหาร (ส่วน Semi Public) ด้วยผมเผ้ารุงรัง โดยที่ไม่รู้ว่าพ่อและแม่กำลังรับแขกคนสำคัญของบ้านอยู่ การออกแบบเช่นนี้ถือเป็นการทำลายความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน และทำให้แขกที่มาเยี่ยมรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ

3.    การออกแบบเส้นทางสัญจร ต้องมีทางเข้าหลัก ทางเข้ารอง ข้อนี้เชื่อว่าหลายๆ คนที่กำลังมองหาแบบบ้านสวยๆ เพลินๆ อยู่ในอินเตอร์เน็ทต้องสะดุดทันที และตั้งคำถามกับตัวเองว่า อะไรคือทางเข้าหลัก อะไรคือทางเข้ารอง
ทางเข้าหลัก คือ ทางเดินเข้าบ้านเส้นทางหลัก เช่น ประตูใหญ่ของบ้านที่ใกล้กับที่จอดรถ ให้ทุกจนเดินเข้าบ้านได้อย่างสะดวก เป็นต้น
ทางเข้ารอง คือ ทางเดินเข้าบ้านเส้นทางสำรอง เช่น เส้นทางที่เชื่อมกับที่จอดรถ แต่พาอ้อมไปเข้าบ้านทางระเบียงของพื้นที่ซักล้างใกล้ห้องครัว เป็นต้น
สาเหตุที่ต้องแบ่งย่อยมีทั้งทางเข้าหลัก และทางเข้ารองเดินเข้าสู่ตัวบ้าน ก็เพื่อเพิ่มความสะดวกในการสัญจรและรองรับพฤติกรรมการใช้งานของผู้อยู่อาศัย ตัวอย่างเหตุการณ์เช่น ในขณะที่บ้านกำลังรับแขกคนสำคัญ หรือคุยธุระสำคัญๆ อยู่ที่ห้องรับแขก หากเราเพิ่งกลับจากการซื้ออาหารและหอบหิ้วอาหารที่มีกลิ่นรุนแรงกลับมาด้วย เราสามารถใช้เส้นทางรองเพื่อเข้าสู่ตัวบ้านได้ โดยไม่ต้องเดินผ่ากลางวงเข้าบ้านให้คนที่กำลังคุยธุระสำคัญอยู่ต้องเสียบรรยากาศ และยังถือเป็นมารยาทที่ดีอย่างหนึ่งของเจ้าบ้านด้วย เป็นต้น

4.    ขนาดของห้องต่างๆ ในแบบบ้านบนอินเตอร์เน็ท เป็นขนาดสัดส่วนจริง (ลดย่อตามมาตตราส่วน) หรือถูกเขียนขึ้นแบบลอยๆ ไม่เข้ามาตราส่วนใดๆ ข้อนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะการออกแบบบ้านไม่ใช่เค่การวาดรูป หรือการขีดเส้นสวยๆ ลงบนแผ่นกระดาษแล้วเอางานนั้นๆ มาขายให้ลูกค้า การออกแบบบ้าน นอกจากจะต้องเป็นแบบบ้านสวยๆ ดีไซน์ดูเข้าตาแล้ว เรื่องของขนาดและสัดส่วนต่างๆ ของห้อง หรือกระทั่งพื้นที่ต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จะสมมติขนาดขึ้นมาเองไม่ได้เด็ดขาด เพราะเมื่อออกแบบบ้านเสร็จแล้ว หากไม่มีการคำนวนหาพื้นที่ระยะสบาย เจ้าของบ้านจะได้บ้านที่คับแคบ อึดอัด หรือต่อให้เป็นแบบบ้านสวยๆ ที่มีพื้นที่กว่าขวาง ก็จะไม่เข้ากับขนาดจริงของเฟอร์นิเจอร์ ทำให้การจัดวาง การตกแต่งไม่ได้ออกมาทำให้บ้านสวยอย่างแบบบ้านที่พบเจอในอินเตอร์เน็ท แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าแบบบ้านสวยตามเว็บต่างๆ จะเชื่อถือได้ สร้างได้จริง ไม่ผิดขนาดและสัดส่วนเฟอร์นิเจอร์ สำหรับข้อนี้ เจ้าของบ้านควรหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาดต่างๆ ของเฟอร์นิเจอร์ ทั้งความกว้าง ยาว สูง หรือจะให้ดีก็วัดอ้างอิงจากเฟอร์นิเจอร์เดิมที่มีอยู่ของตนเองได้เช่นกัน

    ในการหาแบบบ้านสวยๆ จากอินเตอร์เน็ทที่มีอยู่มากมาย ไม่ใช่ว่าเราพบเจอแบบบ้านสวย ถูกใจ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะในการสร้างบ้านนั้น ทุกอย่างที่เรากำลังจะทำล้วนมีมูลค่าทางการก่อสร้างทั้งหมด ต่อให้แบบบ้านหลังนั้นเป็นแบบบ้านสวย ได้รับความนิยมบนอินเตอร์เน็ทที่สามารถดาวน์โหลดมาได้ฟรีๆ ก็ตาม ทางที่ดี เมื่อได้แบบบ้านมาแล้ว ให้นำแบบบ้านนั้นมาพูดคุย ปรึกษากับสถาปนิกเพื่อปรับจูนให้แบบบ้านในฝันที่ดาวน์โหลดมากลายเป็นบ้านที่สามารถสร้างได้จริงและอยู่ได้อย่างสบายไปเป็นสิบๆ ปี 

แบบบ้านสวยในปัจจุบัน
แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

แบบบ้านสวย
แบบบ้านสวย

 

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.