ผนังแตกร้าวภายในบ้าน เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาจจะด้วยสาเหตุดินทรุด แผ่นดินไหว การผสมปูนฉาบไม่ได้มาตรฐาน  พอเกิดมีรอยแตกร้าวขึ้นมายิ่งมองก็ยิ่งไม่สวย ต้องหาทางแก้ปัญหา เรามีวิธีแก้ปัญหา กัน หลายรูปแบบ หลายราคา เริ่มต้นตั้งแต่ หลักร้อยขึ้นไป ลองมาดูวิธีเหล่านี้ ว่า วิธีไหน จะถูกใจทุกท่านกัน


วิธีในการ แก้ปัญหาผนังบ้านแตกร้าว ด้วยงบไม่เกินพันบาทมีอะไรบ้าง
แก้ผนังร้าว
แก้ผนังร้าว

1.    การใช้กาวอเนกประสงค์ ในการซ่อมบำรุง
             กาวอเนกประสงค์ชนิดนี้ ภาษาช่างเรียกว่า กาวยาแนว กาวนี้ มีคุณสมบัติ ยืดหยุ่นตัวได้เล็กน้อย ราคาก็ จะอยู่ในหลักร้อย โดยวิธีการทำ คือ ใช้อุปกรณ์สกัดร่องของทางแตกออกเล็กน้อย ทำความสะอาดไม่ให้มีฝุ่นผงติด เพราะถ้ามีฝุ่นผงติด ในการใช้กาวยาแนว เนื้อของตัวกาว อาจจะไม่ติดกับรอยผนังร้าวได้  เมื่อเราได้ทำความสะอาดร่องรอยแตกเสร็จแล้ว ก็นำกาวยาแนว มา อุดลงตามร่องที่แตก โดยหาตัวช่วยในการหยอดกาวลงไปตามแนว หรือ ยัดกาวลงไปตามแนวด้วยเศษรองเท้าฟองน้ำเก่า  ที่ไม่ใช่แล้ว เพราะ วัสดุเศษรองเท้าฟองน้ำเก่าเกือบทุกชนิด มีความยืดหยุ่นตัวสูง สามารถ จะขยับไปตามร่องต่าง ๆ ได้ ง่าย และ สะดวก    ทำการยาแนวตามร่องไปจนเสร็จ ปล่อยทิ้งไว้ สักพัก ลองเอามือสัมผัสดู ถ้ารู้สึกว่าเริ่มแข็งตัว ก็ ให้ใช้ เศษรองเท้าฟองน้ำชิ้นเดิม ขูดส่วนที่เกิน ที่ติดขอบออกให้หมดเพื่อความสวยงาม  ยิ่งถ้ามีกระดาษทราย ก็สามารถใช้กระดาษทราย ขัดตามรอยแตกแยกของผนังที่เราซ่อมได้  เมื่อเสร็จแล้ว ทำการทาสีทับก็ สวยเหมือใหม่ทันที วิธีนี้ เหมาะสำหรับ บ้านที่มีรอยแตกร้าว จำนวนไม่มากนัก ไม่หลายจุด และ เป็นรอยที่มีความกว้างพอประมาณ

2.    สีทาบ้านอัจฉริยะ
            สีทาบ้านสมัยใหม่ นั้นมีคุณสมบัติ ยืดหยุ่นตัวสูง ถ้าบ้านเรามีรอยแตกร้าวของผนังไม่มากนัก ก็สามารถใช้สีทาบ้านทาทับได้ทันที ทาซ้ำสัก 3-4 รอบ ก็พอที่จะปกปิดรอยแตกร้าวนี้ได้   ยิ่งบางบ้าน มีการสร้างบ้านแบบที่เร่งด้วน ใช้ปูนในการฉาบที่ไม่ค่อยได้คุณภาพ อาจจะมีรอยแตกรอยร้าวได้หลายจุด ก็ควรจะใช้สีทาบ้านที่สำหรับช่วยในการปิดร้อยแตกร้าวด้วยจะยิ่งดี วิธีนี้ ถือว่ามีค่าใช้จ่าย หลักพันกันเลยทีเดียว ถ้าเป็นบ้านที่มีรอยแตกร้าว หลายจุด ก็อาจจะต้องหมดเงิน หลักพันหลักหมื่น ก็เป็นได้

3.    ต้องทำการฉาบปูนใหม่
          สำหรับบางบ้านที่ มีการฉาบปูนมานาน มีรอยแตกร้าวมาก และใหญ่ ลองสังเกตดูเบื้องต้นก่อนว่า รอยฉาบที่เราได้ฉาบมานั้น มีความบางตัว หรือ ได้หลุดออกจากผนังที่เราก่อหรือไม่ วิธีสังเกตลองใช้มือเคาะตามผนังดูว่ามีเสียงเหมือนเสียงโปร่ง ๆ ข้างใน ถ้าฟังแล้ว ไม่มีเหมือนเสียงโปร่ง ๆ ข้างใน ก็แปลว่าผนังยังคงดีอยู่ แต่ถ้ามีเสียงเหมือนโปร่ง ๆ ด้านใน นั้นแปลว่า ผนังชิ้นนั้นกำลังจะหลุดออก แล้วถ้ามีการโกงตัวของผนังที่ฉาบออกจากตัวผนังของบ้านด้วยแล้ว แบบนี้ คงอาจจะต้องมีการซ่อมบำรุงทั้งผนังใหม่ เพราะถ้าเราซ่อมแบบวิธีที่ได้แนะนำไปก่อนนั้น ไม่นานก็อาจจะเกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก เป็นการเสียเงิน เสียเวลาหลายรอบ  ถ้ามาถึงขั้นนี้ คงอาจจะร้องเรียกช่างปูนมาเพื่อทำการซ่อมจะเป็นการดีที่สุด ราคาซ่อมก็ เริ่มที่หลักพัน ถึงหลักหมื่นได้ ตามจำนวนของชิ้นงาน

4.    ปูกระเบื้องปิดรอย
           ถ้าเป็นรอยร้าวที่บริเวณรอบบ้าน อันเกิดมาจากตัวบ้านอยู่ติดกับพื้น พื้นดินมีการสั่นสะเทือนบ่อย โดยเฉพาะบ้านที่ติดถนนรถขับผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้ง ผนังบ้านด้านนอก มีรอยคราบไม่สวยงาม รอยน้ำกระเด็น รอยเปื้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา  ก็สามารถใช้วิธีปูกะเบื้องติดข้างฝาผนังได้ ถือว่าไม่ผิด และยังสร้างความสวยงามตามแบบที่ต้องการ  การทำความสะอาดก็จะง่ายขึ้น เพราะคุณสมบัติของกระเบื้องติดผนังนี้มีคุณสมบัติพื้นผิวลื่นเรียบ คราบยืดเกาะยากอยู่แล้ว จึงไม่ส่งผลเสียใด ๆ   ก่อผนังจากพื้นให้สูงขึ้นมาตามความเหมาะสม ตัวกะเบื้องก็จะเป็นตัวช่วยในการยืดรอยแตกร้าวไม่ให้เพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ พร้อมทั้งป้องกันปัญหาแตกร้าวที่จะมาใหม่ได้ด้วย

          ปัญหาผนังบ้านมีรอยแตกร้าวนั้น สามารถจะเกิดได้ง่าย ๆ เมื่อระยะเวลาการก่อสร้างบ้านได้ผ่านมานาน ยิ่งนานวันเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสมากขึ้นไปตามกัน การป้องกันที่ดี ก็ควรจะเริ่มจาการวางแผนการก่อสร้างให้ได้มาตรฐาน วัสดุคุณภาพต้องอยู่ในขั้นที่ถือว่าดี ช่วยให้เราสามารถจะอยู่ได้อย่างปลอดภัยตามอายุของโครงสร้างที่ดีบ้านบางหลังสร้างได้ อย่างแข็งแรงดีเยี่ยม ก็สามารถมีอายุได้หลายสิบปี บางหลังอาจมากกว่า 60 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ   แต่บ้านบางหลังที่สร้างไม่ได้มาตรฐานอายุการใช้งานก็ไม่ยาวนานมากนักพอเกิดแผ่นดินไหว ก็อาจจะออกอาการบ้านทรุดบ้านร้าวได้  ยิ่งสำหรับบางบ้านที่ติดถนน รถขับผ่านไปมาตลอดทั้งวัน รถบรรทุกขับวิ่งผ่านอาจจะทำให้โครงสร้างที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้วเกิดอาการ ต่าง ๆ นานา ในบ้านพักอาศัยได้  จึงควรป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น จะเป็นการดีที่สุด

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.