สำหรับคนที่กำลังจะซื้อบ้านหรือสร้างบ้านใหม่ที่ไม่มีความรู้เรื่องบ้านเลย วันนี้ทีมงาน babaan.in จะพาไปดูขั้นตอนหรือสิ่งที่ต้องทำการตรวจเช็คบ้านก่อนที่จะซื้อหรับรับบ้านจากผู้รับเหมา ซึ่งถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีบริษัทรับจ้างตรวจรับบ้านอยู่แล้วเราก็ควรจะตรวจเช็คซ้ำอยู่ดี หรือคนที่ไม่ต้องการจ้างบริษัทตรวจบ้านก็ดูหลักกการที่ควรเช็คตรวจบ้านก่อนที่จะเข้าอยู่เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้ารวมถึงเพื่อให้บ้านที่เราเก็บเงินมาทั้งชีวิตเพื่อที่จะซื้อได้อยู่กับเราไปนานๆ

หลักวิธีตรวจบ้านก่อนซื้อ
หลักวิธีตรวจบ้านก่อนซื้อ

11 ข้อที่ต้องตรวจบ้านก่อนซ์้อ

1. ตรวจสอบระบบท่อน้ำ โดยให้ล้องเปิดน้ำทิ้งไว้และดูว่าท่อน้ำมีการอุดตัดหรือมีรอยรั่วซึมระหว่างข้อต่อหรือส่วนที่ซีลไว้หรือเปล่า การเช็คท่อระบายน้ำต้องใช้เวลาและเช็คอย่างระเอียดรอบคอบ เช่น ห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ห้องครัว และบ้านบางหลังมีส่วนที่ท่อระบายน้ำฝังใต้พื้นหรือผนัง

2. เปิด-ปิดหน้าต่างทุกบาน ให้ทำการทดสอบด้วยเการลองเปิดและปิดประตูหรือหน้าต่างทุกบานในบ้าน เช็คดูว่าเปิดได้ง่ายหรือเปล่าติดขัดอะไรหรือไม่หน้าต่างต้องปิดได้สนิทกับวงกบด้วย

3. เปิดก๊อกน้ำ เราได้ทำการเช็คระบบการระบายท่อน้ำไปแล้วก็ตรวจสอบไปด้วยว่าก๊อกน้ำ ฝักบัว หัวฉีดน้ำ รอบตัวบ้านทั้งชั้น 1 และ ชั้น 2 น้ำไหลได้สะดวกหรือไม่และแรงดันน้ำเพียงพอต่อการใช้งานหรือเปล่า โดยเฉพาะบ้านที่มีหลายชั้นหรือคนที่ซื้อคอนโดสูงๆบางแห่งน้ำจะไหลค่อยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

4.เช็คหลอดไฟหรือโคมไฟ ในบ้านของเราจำเป็นต้อใช้แสงสว่างในยามค่ำคืนก่อนที่จะรับบ้านก็ควรตรวจระบบไฟในบ้านด้วยว่า ไฟทุกหลอดติดหรือไม่ สว่างเพียงพอหรือเปล่าต้องติดตรงไหนเพิ่มเติมจะได้แจ้งช่างได้ก่อนรับบ้านมา

5. รสชาติของน้ำ อันนี้สำหรับบบ้านที่อยู่ในต่างประเทศที่สามารถดื่มน้ำประปาได้เลยก็ควรชิมน้ำด้วยว่ารสชาติเหมือนธรรมชาติหรือเปล่า ส่วนในบ้านเราก็เช็คว่าน้ำมีกลิ่นของกาวหรือไม่ ขุ่น หรือมีเศษวัสดุก่อสร้างออกมาจากท่อน้ำหรือเปล่า

6. กดชักโครกห้องน้ำ อย่าลืมทดสอบระบบชักโครกด้วยว่าสามารทำงานได้หรือเปล่า น้ำไหลแรงและดันสิ่งปฏิกูลลงในชักโครกหมดหรือไม่ ปุ่มชักโครกต้องไม่ค้าง เมื่อกดชักโครกแล้วน้ำต้องไหลมายังที่พักน้ำของชักโครกด้วย

7. เช็คอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ บ้านจัดสรรบางแห่งจะติดตั้งระบบทีวี สายอากาศเคเบิ้ล สายโทรศัพท์ สายอินเตอร์เน็ต ควรตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านี้อย่างละเอียดว่าใช้งานได้จริง ทีวีภาพคมชัด โทรศัพท์โทรออกได้ อินเตอร์ใช้งานได้ รวมถึงเบรกเกอร์หรือปลั๊กไฟในบ้านต้องใช้งานได้ทุกจุด

8. ระบบแอร์ ทดสอบระบบแอร์ว่าเย็นหรือไม่ถ้ามีความรู้ก็ควรเช็คด้วยว่าแอร์ที่เขาติดตั้งให้บ้านเราเป็นแอร์ใหม่หรือเปล่า บางคนโชคร้ายเจอผู้รับเหมาใจร้ายเอาแอร์มือสองมาติดให้ก็มี ลองเปิดแอร์พร้อมกันทุกห้องด้วยเพื่อเช็คว่าเบรกเกอร์หรือตู้ไฟของบ้านเราเพียงพอต่อการใช้งานพร้อมกันไม่ตัดลงเสียก่อน เพราะที่บ้านเราเคยเจอปัญหาแอมป์มิเตอร์ขนาดไม่เพียงพอต่อการใช้งานไฟในบ้าน

9. เปิดใต้พรม บ้านหลังนั้นที่มีการทำพื้นแบบปูพรมหรือติดตั้งพรมเพิ่มเติมควรเปิดดูใต้พรมด้วยว่ามีอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า บางคนก่อนจะส่งบ้านให้เราเวลาทำความสะอาดถ้ามักง่ายก็จะกวาดเศษขยะเข้าใต้พรม

10. พื้นบ้าน เช็คด้วยว่าพื้นบ้านมีการทรุดหรือผนังมีรอยแตกร้าวหรือไม่ ส่วนมากแล้วบ้านที่พื้นบ้านทรุดจะเกิดจากบ้านที่เพิ่งถมดินเพื่อสร้างบ้านใหม่ ซึ่งบ้านเราก็มีปัญหานี้เช่นกันเพราะถมดินแล้วรีบสร้างเร็วเกินไปเมื่อเวลาผ่านไปน้ำซึมเข้าใต้ผินกัดซ่อนดินให้ทรุดลง

11. หลังคาบ้าน ตรวจสอบว่าหลังคารั่วหรือไม่ทดลองฉีดน้ำขึ้นด้านบนโดยเฉพาะบริเวณไหนที่รอยต่อระหว่างหลังคา หรือบานที่มีรางน้ำควรทดสอบสิ่งเหล่านี้ด้วย

นี่ก็เป็นเพียงสิ่งหลักๆที่ควรตรวจสอบบ้านก่อนการซื้อแต่แท้จริงแล้วมีหลายอย่างมากกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นความละเอียดของงานผนังฉากเนียหรือไม่ สีทาเสมอกันเหรือเปล่า ตะปูยื่นหรือลืมเอาออกจากบ้านหรือไม่ซึ่งต้องใช้ความละเอียดมากมาย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่กำลังมองหาวิธีตรวจสอบบ้านก่อนเข้าอยู่

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.