หลังคาบ้านมีวัสดุหลายอย่างที่นำมามุงหลังคาให้สวยงามคงทนได้ บ้านแต่ละหลังก็สร้างออกมาจากความต้องการของเจ้าของบ้านโดยจะต้องมีทั้งความสวยงามและความแข็งแรงอยู่ด้วยกัน  สำหรับบทความนี้เราจะพามาทำความเข้าใจกับเมทัลชีท (Matal Sheet )ที่นิยมใช้มาเป็นหลังคาบ้านกัน โดยจะเริ่มรู้จักกันตั้งแต่ว่าเมทัลชีททำมาจากอะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ข้อดี ข้อเสีย และอื่น ๆ บทความนี้จะรวมไว้ให้ทุกท่านได้อ่านอย่างละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับเมทัลชีลเลย
หลังคาเมทัลชีท
หลังคาเมทัลชีท

เมทัลชีท (Matal Sheet)หมายถึงอะไร
แผ่นเมทัลซีท หรือ แผ่นเหล็กกรีดลอน ที่นิยมนำมาเป็นหลังคาบ้านเมทัลชีทอย่างที่รู้จักกันความหมายของเมทัลชีทคือ จะเป็นเหล็กที่มีลักษณะบาง ๆ สำหรับต่างประเทศนั้นโลหะทุกชนิดนำมาเป็นเมทัลชีทได้หมดไม่ว่าจะเป็น อลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง เป็นต้น ยังรวมถึงโลหะชนิดอื่น ๆ ด้วย แต่ในประเทศไทยงานเมทัลชีทจะนิยมใช้เป็นเหล็กมากกว่าโลหะอย่างอื่น โดยเอามารีดเป็นลอนเหมือนกันหมดให้บางและใช้สำหรับงานสร้างบ้านอย่างการทำเป็นหลังคาบ้านเมทัลชีล  รั้ว ผนัง บานเกล็ด ฯลฯ ทุกส่วนของบ้านตามที่ต้องการ


เมทัลชีทเป็นคำที่มีความหมาย 2 คำมารวมกัน ซึ่งคำว่า Metal แปลว่า โลหะ และคำว่า Sheet มีความหมายว่า แผ่น จึงรวมกันง่าย ๆ เลยคือคำว่า เมทัลชีท แปลว่า “แผ่นโลหะ” นั่นเอง แต่ว่าในทางงานเกี่ยวกับการสร้างบ้านการทำหลังคาเราจะรู้จักกันดีในความเป็นแผ่นกรีดรอนที่ทำมาจากโลหะเป็นขนาดบางหน้าที่หลักเพื่อใช้ในการมุงหลังคาบ้าน แต่มันก็มีความหมายอย่างอื่นด้วยหากหน้าที่ของมันต่างออกไปจากการสร้างบ้าน

ก่อนที่จะออกมาเป็นเมทัลชีทนั้นต้องนำเอาแผ่นเหล็กไปทำการขึ้นรูปก่อน โดยจะแบ่งออกเป็นการขึ้นรูป 2 ชนิดคือ แผ่นเคลือบสี และ เคลือบอลูซิงค์โดยทั้งสองแบบนี้มีการรีดออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ กรีดลอนที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1.    เมทัลชีทแบบเคลือบสี ตัวนี้ก็ต้องผ่านการเคลือบ Aluzincเหมือนกันก่อนที่จะนำมาทำสีออกมาให้เป็นแผ่นเมทัลชีทที่มีความสวยงามตามขั้นตอนต่อไป การเคลือบสีนั้นมีอยู่ 3 วิธีคือ
1.1.    เคลือบ PZACS เป็นการเคลือบสีแบบที่ไม่มีการรองพื้น
1.2.    เคลือบ PRIMA เป็นการเคลือบแบบมีรองพื้น 1 ชั้น หนาขึ้นมาอีหน่อย
1.3.    เคลือบ CLEAN COLOR BOND โดยมี 2 ชั้นด้วยกันจะหนาที่สุดแล้ว หนาประมาณ 12 – 25 ไมครอนเลย ยิ่งหนายิ่งทำให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น
2.    เมทัลชีทแบบเคลือบอลูซิงค์ เป็นการนำแผ่นเหล็กมาทำการเคลือบสังกะสี (Zn)จากเคลือบเข้ากับอลูมิเนียมอีกทีเพื่อเป็นการทำให้มันไม่พังง่าย หรือไม่เกิดเป็นสนิม จะมีความเงางามมีกว่าแบบแรก
            ทั้งสองอย่างนี้เป็นกระบวนการก่อนที่จะนำเอาแผ่นเหล็กไปทำการรีดเพราะหากไม่เคลือบอะไรเลยก็ทำให้เหล็กนั้นเป็นสนิมและเปราะยางได้ง่ายมาก มันเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับเหล็กเมทัลชีทนั่นเอง

เมทัลชีท และ กระเบื้องคอนกรีต ต่างกันอย่างไร
หลังคาคอนกรีต
หลังคาคอนกรีต

ราของแผ่นหลังคาเมทัลชีทจะถูกกว่าเมื่อคิดราคารวมเข้าไปถึงกับโครงของหลังคาบ้านถ้วยเพราะถ้าเป็นกระเบื้องคอนกรีตจะแพงมากกว่าเพราะใช้ฐานรากน้อยกว่า ในส่วนของระดับความชันนั้นตัวหลังคาเมทัลชีทจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 5 องศา ส่วนของกระเบื้องคอนกรีตประมาณ 15 องศาเป็นอย่างต่ำ เมทีลชีทมีน้ำหนักเบากว่าด้วยหนักแค่ประมาณตารางเมตรละ 4.2 – 6.2 กิโลกรัมเท่านั้นเองแต่ถ้าเป็นกระเบื้องหลังคาคอนกรีตจะหนักที่ตารางเมตรละ 49 กิโลกรัมเลย ในส่วนของการป้องกันความร้อนถ้าใช้กระเบื้องมุงหลังคาบ้านจะร้อนมากกว่าเพราะมันสะสมความร้อนแต่ถ้าเป็นหลังคาเมทัลชีทมันจะช่วยสะท้อนความร้อนได้ดีกว่า ทำให้บ้านมีความเย็นมากกว่า แถมยังอยู่ได้นานมากถึง 15 ปีเมื่อเทียบกับกระเบื้องที่ประมาณ 5 ปีก็เริ่มที่จะมีรอยร้าวกันแล้ว กันแดดได้ดีแล้วหลังคาเมทัลชีทยังกันฝนได้เยอะไม่รั่วเพราะว่ารอยต่อมีน้อยและปิดแน่นอยู่แล้ว กระเบื้องมีความเสี่ยงที่ทำให้กันฝนไม่ได้ค่อยดีจากหลายเหตุ ถ้าเป็นเรื่องของสีและความสวยงามยิ่งไม่ต้องถามเลยเพราะว่าหลังคาเมทัลชีทสีสวยมีความสม่ำเสมออยู่แล้วต่างจากกระเบื้องที่สีไปคนละทางก็มี  ระดับความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของเจ้าของบ้านเมทัลชีทนั้นไม่มีเลยเป็นกระเบื้องยังเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราได้ แต่ข้อเสียมันก็มีเพราะว่าเวลาที่ผนตกหนัก ๆ นั้นเสียงฝนจะดังรบกวนมากกว่าการใช้กระเบื้องคอนกรีต

วิธีการเลือกเหล็กเมทัลชีทให้เหมาะสมกับการใช้งาน
-    เหล็กเมทัลชีทหนาที่ 0.30 mm (BMT)เป็นเหล็กที่เหมาะสำหรับการใช้กับการมุงหลักคาที่มีขนาดไม่ใหญ่ เป็นการมุงผนัง ในพื้นที่เล็ก ๆ เน้นการประหยัด เช่น การนำไปมุงหลังคาที่จอดรถ ทำเป็นกันสาด โดยจะต้องมีระยะแปประมาณไม่เกิน 1.2 เมตรเท่านั้น
-    เหล็กเมทัชชีทหนาที่ 0.35 – 0.40 (BMT)ตัวนี้จะเหมาะกับการนำไปใช้ในงานมุงหลังคาอาคารที่เป็นขนาดปานกลาง งานปูผนังแบบทั่วไป ไม่เล็กไม่ใหญ่กำลังพอดี
-    เหล็กเมทัลชีทหนา 0.42 (BMT)ตัวนี้จะเหมาะกับการมุงหลังคาบ้านแบบมาตรฐานเลย งานที่ต้องใช้ความละเอียดเน้นคุณภาพงานสูงมาก บ้านที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ใช้แผ่นมุงหลังคาเมทัลชีทหนาระดับนี้ได้เลย โดยระยะแปจะได้ถึง 1.5 เมตรเลยแต่อยู่ที่ลักษณะรูปของแผ่นหลังคาเมทัลชีทประกอบกันด้วย
-    เหล็กเมทัลชีทหน้า 0.48 (BMT)สำหรับความหนาระดับนี้เน้นที่งานการมุงหลังคาบ้านที่เน้นความแข็งแรงเป็นพิเศษ และต้องมีความกว้างมากด้วยโดยได้ถึง 2.5 มตรเลย

สำหรับใครที่กำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้เป็นแผ่นเมทัลชีทหนาระดับไหนดีสำหรับการมุงหลังคาบ้านของตัวเองก็จะได้เลือกได้ถูกต้องแล้ว ต่อมาทำความเข้าใจตัวย่อ BMT กับ TCT กันสักนิดว่าหมายถึงอะไรบ้าง
1.    (BMT) Base Metal Thicknessเป็นตัวสำหรับบอกถึงความหนาของเหล็กเมทัลก่อนที่จะเคลือบอลูซิงค์

2.    (TCT) Total Coated Thickness เป็นตัวบอกถึงความหนาของการรวมเคลือบอลูซิงค์และทำการเคลือบสีของแผ่นเมทัลชีทแล้ว

3.    AZ 150, AZ 100, AZ 90, AZ 70, AZ 50 หมายถึง ตัวที่ทำหน้าที่บอกถึงความหนาของการเคลือบอลูซิงค์โดยหน่วยจะเป็นกรัมคิดต่อตารางเมตรทั้ง 2 ด้าน โดยแผ่นเมทัลชีทตัวไหนที่เคลือบสารอลูซิงค์มากกว่ามันก็จะมีความทนทาน แข็งแรง มากกว่าตัวอื่น ๆ ส่วนมากจะใช้อยู่ที่ AZ 70, AZ100, และ AZ150 เป็นหลัก โดยการเคลือบแบบนี้มีความหนาเป็นดังนี้
(a)    AZ 70 เป็นการเคลือบสังกะสี + อลูมิเนียมประมาณ 70 กรัมต่อตารางเมตร ด้วยวิธีการจุ่มและยกขึ้นมาอย่างรวดเร็ว
(b)    AZ100 เป็นการเคลือบสังกะสี + อะลูมิเนียมเหมือนกันแต่ว่าหนามากกว่า ข้อแรก
(c)    AZ 150 เคลือบสังกะสี + อะลูมิเนียมแต่ว่าก็เพิ่มความหนามากกว่าข้อ (b) ขึ้นมาอีกเท่าตัว

4.    G300 , G550 ตัวนี้จะเป็นค่า Yield Strength ตัวนี้ทำให้เหล็กเมทัลชีทนั้นแข็งมากขึ้นโดยหน่วยมันจะเป็น Mpa เหล็กนั้นยิ่งดึงมันจะยิ่งแข็งและพอแข็งมาก ๆ มันจะขาดได้หากยังดึงต่อ โดยเหล็ก G550 นั้นจะมีค่าความแข็งอยู่ที่ 550 Mpa ซึ่งก็แน่นอนว่ามันแข็งมากกว่าเหล็ก G300 นั่นเอง แต่ว่าระหว่างเหล็ก G300 กับ G550 นั้นมันจะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่แล้ว


ลักษณะทั่วไปของลอนเมทัลชีท (Metal Sheet Rib)
ทุกตัวของแผ่นเมทัลชีทจะมีความหนาที่ต่างกันอยู่ที่ 0.25,0.28,0.30 เมตร 0.33,0.35,0.40,0.47,0.5 มิลลิเมตร เหล่านี้คือความหนาของตัวแผ่นเมทัลชีทที่ถูกผลิตออกมาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันออกไป โดยมีลักษณะดังนี้
1)    เป็นลอนแบบมาตรฐานแผ่นเมทัลชีทลอนคู่ โดยปกติแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน สูง 24 มิลลิเมตร ด้านล่างท้องของลอนเมทัลชีทมีสัน 2 เส้นเพื่อทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม
2)    เมทัลชีทแบบยอดที่ได้รับความนิยมสูงเป็นลอนคู่ สูง 24 มิลลิเมตร มีทั้งหมด 5 สันลอนด้วยกัน ตรงท้องลอนจะมีสันเอาไว้ช่วยให้น้ำไหลลงตรงลอนได้เร็วขึ้น
3)    แผ่นเมทัลชีทที่มีลักษณะเป็นลอนใหญ่ สูง 35 มิลลิเมตร มีทั้งหมด 5 สันลอน เป็นลอนขนาดใหญ่เพื่อทำให้รับน้ำที่ไหลได้มากขึ้นและไม่ทำให้น้ำไหลเข้าท้องลอน ไม่รั่ว
4)    แผ่นเมทัลชีทที่เป็นลอนแบบเปน ลอนจะแปลกหน่อยมีลอนโค้งมนสวยงาม มีทั้งหมด 5 สันลอนด้วยกัน ความสูงอยู่ที่ 36 มิลลิเมตร ทำออกมาเพื่อกระเบื้องมุงหลังคาโดยเฉพาะ

       เป็นแผ่นเหล็กลอนที่เหมาะกับการสร้างบ้านมาก มีข้อดีหลายอย่างมากที่ควรจะนำมามุงหลังคาเมื่อเทียบกับกระเบื้องคอนกรีตหลังคาทั่วไป เรามาดูกันว่าแผ่นหลังคาเมทัลชีทนั้นมีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง
ข้อดีของการใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคา
-    น้ำหนักแผ่นเมทัลชีทเบา
-    สามารถซื้อได้ในราคาประหยัดเมื่อเทียบกับการใช้กับโครงสร้างหลังคา หากซื้ออยู่ที่โรงรีดจะถูกมากอยู่ที่พันกว่าบาทเท่านั้น แต่ก็ต้องดูความหนาและส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย
-    ทำให้มุงหลังคาบ้านได้รวดเร็วและปลอดภัย
-    ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพผู้ใช้
-    กันฝนได้ดีรอยต่อละเอียดน้ำไม่รั่วซึม
-    มีหลายสีให้เลือก
-    อายุการใช้งานนานถึง 15 ปี
ข้อเสียของการใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคา
-    ราคาแพงมากยิ่งตัวที่มีความหนาและแข็งแรงจะยิ่งแพง
-    กันเสียงฝนตกหนักไม่ค่อยได้หากเทียบกับกระเบื้องคอนกรีต แต่ก็ติดฉนวนกันความร้อนและกันเสียงได้
-    การระบายน้ำขึ้นอยู่กับความเอียงของตัวหลังคาบ้าน
ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งานแต่สำหรับแผ่นเมทัลชีทกับการมุงหลังคาบ้านนี้เมื่อคิดถึงประโยชน์การใช้งานแล้ว อาจจะแพงหน่อยแต่ก็คุ้มค่ามากเมื่อคิดถึงประโยชน์ในระยะยาว

ราคาแผ่นเมทัลชีทต่อตารางเมตร (เปลี่ยนแปลงตามท้องที่)
ราคาของแผ่นมุงหลังคาเมทัลชีทแบบลอนมาตรฐาน 760 S ลอนยอดนิยม 760 T พร้อมกับเคลือบอะลูมิเนียม AZ 70

ความหนา/ม.ม.
ราคา/เมตร
ราคา/ตารางเมตร
0.23
65 – 85
85 – 115
0.25
75 – 95
100 – 125
0.27
80 – 105
105 – 140
0.28
85 – 110
112 – 145
0.30
90 – 115
119 – 150
0.33
95 – 120
125 – 160

ราคาของแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทลอนมาตรฐาน 460 S ลอนยอดนิยม 760 T เคลือบอะลูซิงค์AZ 150
ความหนา/ม.ม.    ราคา/เมตร    ราคา/ตารางเมตร

ความหนา/ม.ม.
ราคา/เมตร
ราคา/ตารางเมตร
0.35
105 – 130
140 – 170
0.40
125 – 150
165 – 200
0.47
145 – 170
190 – 225


ราคาแผ่นหลังคาเหล็กเมทัลชีทลอนมาตรฐาน 760 S ลอนยอดนิยม 760 T เคลือบสีและทำอะลูซิงค์

ความหนา/ม.ม.
เคลือบลูซิงค์
ราคา/เมตร
ราคาต่อตารางเมตร
0.30
AZ 70
100 – 140
130 – 185
0.35
AZ 70
110 – 165
145 -215
0.40
AZ 70
120 – 185
155 – 245
0.43
AZ 150
200 – 230
 260 – 300
0.50
AZ 150
230 – 260
300 – 340

ใครที่ต้องการจะซื้อต้องติดตามราคาล่าสุดตลอดเพราะราคานี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เป็นระยะเช่นกัน 
แผ่นเมทัลชีทเหมาะสำหรับบ้านแบบไหน
เมทัลชีทนี้เหมาะกับการนำไปมุงหลังคาบ้านมากที่สุดเพราะว่ากันความร้อนได้เป็นอย่างดี ถ้าจะถามว่าใช้กับบ้านแบบไหนได้บ้างก็จะใช้ได้แทบทุกประเภทของบ้านเลย แถมยังสามารถใส่ฉนวนกันความร้อนได้อีกด้วย นอกจากเป็นหลังคาแล้วแผ่นเมทัลชีทยังเป็นเป็นรั้ว ผนัง ฝ้า และอย่างอื่นได้อีกเยอะมากแล้วแต่ประเภทแล้วแต่การใช้งาน แต่เน้นหลังคาจะดีกว่าเพราะคุ้มค่าระยะยาวมากเมื่อเลือกใช้แผ่นเหล็กเมทัลชีท

เราก็คงปิดท้ายบทความเรื่องของแผ่นเหล็กเมทัลชีทมุงหลังคาบ้านไว้เท่านี้ หากคิดจะใช้กับบ้านของตัวเองก็ให้เข้าไปเลือกซื้อมาให้ถูกประเภทและดูความเหมาะสมของงบประมาณและตัวบ้านประกอบกัน แต่แน่นอนว่าไม่มีผิดหวังคุณจะได้บ้านที่เย็นสบายแน่นอนเมื่อมุงหลังคาด้วยเมทัลชีท

Post A Comment:

1 comments:

  1. หลังคาเมทัลชีท MTBS บจก.แม่ทองใบ สตีล ผลิตและจำหน่ายแผ่นหลังคาเหล็กรีดลอน แผ่นหลังคาตรง , แผ่นหลังคาโค้ง , แผ่นผนัง , แผ่นครอบ , แผ่นบานเกล็ด , และม้วนเหล็ก (Coil) และอุปกรณ์อื่นๆในการติดตั้งหลังคา เช่น แผ่นใส , ฉนวนกันความร้อน , สกรูยึดหลังคา ,ขายึดบานเกล็ด , ขาล็อคKL700 , ซิลิโคนสีเทา , สีขาว , สีใส โทรศัพท์ 02 874 1261 และ 092 280 5957 Line id: mtbmetalsheet www.mtbmetalsheet.com www.facebook.com/mtbmetalsheet http://www.หลังคาเหล็กเมทัลชีท.net

    ReplyDelete

babbaan.in V. Powered by Blogger.