บ้านสองชั้นออกแบบอย่างไรให้สวย ถ้ามองในมุมมองของนักออกแบบบ้านอย่างสถาปนิก การออกแบบบ้านสองชั้นจะง่ายกว่าการออกแบบบ้านชั้นเดียวในเรื่องของฟังก์ชั่น การแบ่งโซนของห้องหับต่างๆ ภายในบ้าน เพราะเราสามารถแบ่งได้ทันทีว่า ส่วนที่เป็นพื้นที่เฉพาะบุคคลอย่างเช่น ห้องนอน สามารถออกแบบให้อยู่บนชั้นสองได้ในทันที และชั้นล่างจะเป็นห้องที่เป็นพื้นที่ที่ทุกคนภายในบ้าน หรือแขกผู้มาเยือนสามารถใช้ได้ในบางห้อง เช่น ห้องรับแขก หรือรับประทานอาหาร เป็นต้น
- ส่วนสาธารณะ (Plublic) เช่น ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร จะอยู่ชั้นล่าง
- ส่วนกึ่งสาธารณะ (Semi Plublic)เช่น ห้องครัว อยู่ชั้นล่าง
- ส่วนของพื้นที่ส่วนตัว (Private) เช่น ห้องนอน จะอยู่ชั้นบน
- และในส่วนของห้องน้ำนั้น จะถูกจัดแบ่งเพื่อรองรับในแต่ละส่วน (Zoning) ของบ้านได้ง่ายขึ้น ไม่รวมกันและจัดว่าได้รับความเป็นส่วนตัวต่อเจ้าบ้านได้มาก และตอบสนองการใช้งานของแขกผู้มาเยือนได้อย่าเหมาะเจาะพอดีอีกเช่นกัน
2. ลงตัวแม้มีพื้นที่จำกัด หากใครคิดว่าการออกแบบบ้านสองชั้นจะต้องมีพื้นมากๆ ให้ลบข้อนี้ออกไปได้เลย เพราะไม่ว่าจะเป็นบ้านชั้นเดียว หรือบ้านสองชั้น ก็สามารถปลูกสร้างบนพื้นที่จำกัดได้ ขอเพียงได้รับการออกแบบฟังก์ชั่น ห้องหับต่างๆ และทุกๆ พื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัว คุณก็จะมีบ้านสองชั้นสวยๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการ ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตได้ไม่ยาก
ไม่ควรออกแบบห้องนอนของผู้สูงอายุให้อยู่ชั้นบน เพราะไม่สะดวกต่อการที่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวต้องคอยเดินขึ้นๆ ลงๆ และอาจเสี่ยงต่อการหกล้ม ลื่นล้มหรืออุบัติเหตุอื่นๆ ได้ แต่ปัญหานี้ก็สามารถเก้ไขได้โดยเพิ่มห้องนอนของผุ้สูงอายุไว้ที่ชั้นล่าง แต่ก็ควรออกแบบให้ห่างจากส่วนสาธารณะอย่างห้องรับเขก เพื่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของห้อง
ในการออกแบบบ้าน 2 ชั้น สามารถออกแบบได้หลากหลายสไตล์ ไม่จำกัด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อเรามีพื้นที่ในการออกแบบเพิ่มมากขึ้นนั่นก็คือ เรื่องของการจัดห้องต่างๆ ภายในบ้าน แม้ว่าต้นบทความเราจะได้กล่าวถึงการจัดส่วนต่างๆ ภายบ้านไปแล้ว (Zoning) แต่ในเรื่องของการจัดเรียงห้องนอน หรือห้องต่างๆ ภายในบ้านแยกย่อยออกมาตามการจัด Zoning ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะทุกๆ การจัดวางห้องจะกระทบถึงเรื่องของทิศทางแสงแดด ลมประจำฤดู เสียงรบกวน หรือสิ่งต่างๆ โดยรอบบ้าน
การออกแบบบ้าน 2 ชั้น นั้น หากเป็นบ้านเดี่ยวอาจง่ายกว่าบ้านสองชั้นแบบทาวเฮาส์ เพราะการสร้างทาวเฮาส์จะมีการออกแบบให้เป็นคูหาติดกัน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของการหันหน้าบ้านให้รับกับทิศทางลมหรือแสงแดด
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างมากของคนมีบ้านสองชั้นก็คือ การต่อเติมบ้าน เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ในอนาคต หากเจ้าบ้านมีความต้องการที่จะต่อเติม เปลี่ยนแปลงให้บ้านมีพื้นที่กว้างขวางขึ้น การต่อเติมยอดนิมยมมากที่สุดของบ้านสองชั้นก็คือระเบียง หรือต่อเติมห้องอีกสัก 1 ห้อง ยื่นออกมา ซึ่งในการต่อเติมบ้านนี้สิ่งที่ต้องพึงระวังจะเป็นเรื่องของโครงสร้างและการรับน้ำหนัก บางบ้านอาจสร้างได้โดยที่ผลกระทบทางโครงสร้างไม่มี แต่กับบางบ้านยังมีข้อจำกัดในเรื่องของโครงสร้าง เสาและคานไม่สามารถรับน้ำหนักขนาดของห้องใหม่ พรือพื้นที่ระเบียงให้มีขนาดใหญ่ตามที่คิดไว้ได้ จึงต้องลดขนาดลงให้โครงสร้างของบ้านยังคงอยู่ได้ เพราะต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก
นั่นเท่ากับมองได้อีกมุมว่า เมื่อเราสร้างบ้านสองชั้นแล้ว หากต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ต่อเติมเพิ่มขึ้นในอนาคต เราจะต้องเตรียมโครงสร้างบ้านที่แข็งแรง ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน และได้รับการออกแบบ การคิดคำนวนวางผังโครงสร้างจากผู้ชำนาญการจากสถาปนิกและวิศวกร เพราะความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยก็คืออีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการมีบ้านที่สวยงาม อากาศถ่ายเท โปร่ง โล่ง อยู่สบาย
ในปัจจุบันบ้านสองชั้น ได้รับความนิยมในการปลูกสร้างมากกว่าบ้านชั้นเดียวค่อนข้างมาก เราจึงพบเห็นบ้านสองชั้นในรูปแบบของโครงการบ้านเดียว ทาวเฮาส์ ทาวโฮมต่างๆ มากมาย แต่ทั้งนี้ไม่ว่าคุณผู้อ่านกำลังจะสร้างบ้านสองชั้นเป็นของตนเอง หรือกำลังมองหาบ้านสองชั้นจากโครงการต่างๆ สิ่งที่ขาดไปเสียไม่ได้ของบ้านสองชั้นดีๆ สัก 1 หลังก็คือ
- บ้านสองชั้นควรได้รับการแบ่ง zoning ที่ชัดเจน ไม่ออกแบบสับสน ปะปนห้องที่เป็นส่วนตัวกับส่วนสาธารณะตีกันมั่วไปหมด
- มีเส้นทางสัญจรในการเดินเข้าสู่ตัวบ้านทั้งเส้นทางหลัก (หน้าบ้าน) และเส้นทางรอง (อ้อมไปด้านหลัง หรือทางห้องครัว)
- มีการออกแบบช่องเปิด (ประตู-หน้าต่าง) สัมพันธ์กับแสงแดด และทิศทางลม เพื่อภายในบ้านโปร่งสบาย ส่วาง ไม่มืด อับ ทึบแสง อึดอัด
นอกนั้นในเรื่องของความสวยงามหรือสไตล์การตกแต่งของตัวบ้านขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้อยู่อาศัยและเจ้าบ้านว่าอยากให้บ้านสองชั้นที่ตนเองพึงปรารถนานั้นเป็นอย่างไร เพราะหากบ้านสองชั้นหลังดังกล่าวได้รับการออกแบบฟังก์ชั่นของห้องต่างๆ ภายในบ้านมาเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องของการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ในภายหลังจะง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และยังง่ายต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ให้มีขนาดเหมาะสมกับห้องต่างๆ ของบ้าน จึงจัดวาง ตก
ตัวอย่างแบบบ้านสองชั้นในปัจจุบัน
แปลนแบบบ้านสองชั้น
ข้อดีของบ้านสองชั้น
1. มีความเป็นส่วนตัว และสัดส่วนของพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านชัดเจน กล่าวคือ- ส่วนสาธารณะ (Plublic) เช่น ห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร จะอยู่ชั้นล่าง
- ส่วนกึ่งสาธารณะ (Semi Plublic)เช่น ห้องครัว อยู่ชั้นล่าง
- ส่วนของพื้นที่ส่วนตัว (Private) เช่น ห้องนอน จะอยู่ชั้นบน
- และในส่วนของห้องน้ำนั้น จะถูกจัดแบ่งเพื่อรองรับในแต่ละส่วน (Zoning) ของบ้านได้ง่ายขึ้น ไม่รวมกันและจัดว่าได้รับความเป็นส่วนตัวต่อเจ้าบ้านได้มาก และตอบสนองการใช้งานของแขกผู้มาเยือนได้อย่าเหมาะเจาะพอดีอีกเช่นกัน
2. ลงตัวแม้มีพื้นที่จำกัด หากใครคิดว่าการออกแบบบ้านสองชั้นจะต้องมีพื้นมากๆ ให้ลบข้อนี้ออกไปได้เลย เพราะไม่ว่าจะเป็นบ้านชั้นเดียว หรือบ้านสองชั้น ก็สามารถปลูกสร้างบนพื้นที่จำกัดได้ ขอเพียงได้รับการออกแบบฟังก์ชั่น ห้องหับต่างๆ และทุกๆ พื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัว คุณก็จะมีบ้านสองชั้นสวยๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการ ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตได้ไม่ยาก
แต่ข้อจำกัดของบ้านสองชั้นก็คือ
ไม่ควรออกแบบห้องนอนของผู้สูงอายุให้อยู่ชั้นบน เพราะไม่สะดวกต่อการที่ผู้สูงอายุภายในครอบครัวต้องคอยเดินขึ้นๆ ลงๆ และอาจเสี่ยงต่อการหกล้ม ลื่นล้มหรืออุบัติเหตุอื่นๆ ได้ แต่ปัญหานี้ก็สามารถเก้ไขได้โดยเพิ่มห้องนอนของผุ้สูงอายุไว้ที่ชั้นล่าง แต่ก็ควรออกแบบให้ห่างจากส่วนสาธารณะอย่างห้องรับเขก เพื่อความเป็นส่วนตัวของเจ้าของห้อง
ในการออกแบบบ้าน 2 ชั้น สามารถออกแบบได้หลากหลายสไตล์ ไม่จำกัด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อเรามีพื้นที่ในการออกแบบเพิ่มมากขึ้นนั่นก็คือ เรื่องของการจัดห้องต่างๆ ภายในบ้าน แม้ว่าต้นบทความเราจะได้กล่าวถึงการจัดส่วนต่างๆ ภายบ้านไปแล้ว (Zoning) แต่ในเรื่องของการจัดเรียงห้องนอน หรือห้องต่างๆ ภายในบ้านแยกย่อยออกมาตามการจัด Zoning ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะทุกๆ การจัดวางห้องจะกระทบถึงเรื่องของทิศทางแสงแดด ลมประจำฤดู เสียงรบกวน หรือสิ่งต่างๆ โดยรอบบ้าน
การออกแบบบ้าน 2 ชั้น นั้น หากเป็นบ้านเดี่ยวอาจง่ายกว่าบ้านสองชั้นแบบทาวเฮาส์ เพราะการสร้างทาวเฮาส์จะมีการออกแบบให้เป็นคูหาติดกัน ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของการหันหน้าบ้านให้รับกับทิศทางลมหรือแสงแดด
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างมากของคนมีบ้านสองชั้นก็คือ การต่อเติมบ้าน เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ในอนาคต หากเจ้าบ้านมีความต้องการที่จะต่อเติม เปลี่ยนแปลงให้บ้านมีพื้นที่กว้างขวางขึ้น การต่อเติมยอดนิมยมมากที่สุดของบ้านสองชั้นก็คือระเบียง หรือต่อเติมห้องอีกสัก 1 ห้อง ยื่นออกมา ซึ่งในการต่อเติมบ้านนี้สิ่งที่ต้องพึงระวังจะเป็นเรื่องของโครงสร้างและการรับน้ำหนัก บางบ้านอาจสร้างได้โดยที่ผลกระทบทางโครงสร้างไม่มี แต่กับบางบ้านยังมีข้อจำกัดในเรื่องของโครงสร้าง เสาและคานไม่สามารถรับน้ำหนักขนาดของห้องใหม่ พรือพื้นที่ระเบียงให้มีขนาดใหญ่ตามที่คิดไว้ได้ จึงต้องลดขนาดลงให้โครงสร้างของบ้านยังคงอยู่ได้ เพราะต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก
นั่นเท่ากับมองได้อีกมุมว่า เมื่อเราสร้างบ้านสองชั้นแล้ว หากต้องการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ต่อเติมเพิ่มขึ้นในอนาคต เราจะต้องเตรียมโครงสร้างบ้านที่แข็งแรง ใช้วัสดุที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน และได้รับการออกแบบ การคิดคำนวนวางผังโครงสร้างจากผู้ชำนาญการจากสถาปนิกและวิศวกร เพราะความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยก็คืออีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการมีบ้านที่สวยงาม อากาศถ่ายเท โปร่ง โล่ง อยู่สบาย
ในปัจจุบันบ้านสองชั้น ได้รับความนิยมในการปลูกสร้างมากกว่าบ้านชั้นเดียวค่อนข้างมาก เราจึงพบเห็นบ้านสองชั้นในรูปแบบของโครงการบ้านเดียว ทาวเฮาส์ ทาวโฮมต่างๆ มากมาย แต่ทั้งนี้ไม่ว่าคุณผู้อ่านกำลังจะสร้างบ้านสองชั้นเป็นของตนเอง หรือกำลังมองหาบ้านสองชั้นจากโครงการต่างๆ สิ่งที่ขาดไปเสียไม่ได้ของบ้านสองชั้นดีๆ สัก 1 หลังก็คือ
- บ้านสองชั้นควรได้รับการแบ่ง zoning ที่ชัดเจน ไม่ออกแบบสับสน ปะปนห้องที่เป็นส่วนตัวกับส่วนสาธารณะตีกันมั่วไปหมด
- มีเส้นทางสัญจรในการเดินเข้าสู่ตัวบ้านทั้งเส้นทางหลัก (หน้าบ้าน) และเส้นทางรอง (อ้อมไปด้านหลัง หรือทางห้องครัว)
- มีการออกแบบช่องเปิด (ประตู-หน้าต่าง) สัมพันธ์กับแสงแดด และทิศทางลม เพื่อภายในบ้านโปร่งสบาย ส่วาง ไม่มืด อับ ทึบแสง อึดอัด
นอกนั้นในเรื่องของความสวยงามหรือสไตล์การตกแต่งของตัวบ้านขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้อยู่อาศัยและเจ้าบ้านว่าอยากให้บ้านสองชั้นที่ตนเองพึงปรารถนานั้นเป็นอย่างไร เพราะหากบ้านสองชั้นหลังดังกล่าวได้รับการออกแบบฟังก์ชั่นของห้องต่างๆ ภายในบ้านมาเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องของการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ในภายหลังจะง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และยังง่ายต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ให้มีขนาดเหมาะสมกับห้องต่างๆ ของบ้าน จึงจัดวาง ตก
Post A Comment:
0 comments: