แสงสว่างคือสิ่งที่จำเป็นกับบ้านทุกหลังและห้องทุกห้อง  ขึ้นอยู่กับว่าห้องนั้นๆ ต้องการแสงแบบไหน  สว่างเท่าไหร่  แต่ในปัจจุบันนั้นการเลือกใช้หลอดไฟธรรมดาๆ ในการให้แสงสว่าง  อาจจะเป็นเรื่องล้าหลังไปเสียแล้ว  เพราะได้มีโคมไฟติดเพดานแบบต่างๆ มาให้พวกเราคนรุ่นใหม่ได้เลือกใช้กันมากมาย  ซึ่งนอกจากจะให้แสงสว่างแล้ว  การเลือกโคมไฟที่มีดีไซน์ดีๆ รูปทรงเก๋ๆ ให้เหมาะกับบ้านแบบต่างๆ และจุดต่างๆ ของบ้านนั้นก็ช่วยเพิ่มความสวยงามและความโดดเด่นให้แก่บ้านของเราได้ด้วย  เพราะโคมไฟต่างดีไซน์ก็ให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป  รวมถึงช่วยเติมเต็มบรรยากาศในบ้านให้สวยงามในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย  แต่ห้องแต่ละแบบนั้นเหมาะกับโคมไฟติดเพดานแบบไหน  หรือมุมนี้ของบ้านควรใช้โคมไฟติดเพดานอย่างไร  เรามาดูกันเลยดีกว่า



     อันดับแรกเลย  สำหรับห้องที่ต้องการใช้แสงสว่างให้สม่ำเสมอทั่วทั้งบริเวณ  ไม่ว่าจะเป็นห้องรับแขก  ห้องนอน  ห้องนั่งเล่น  ห้องน้ำหรือห้องทำงานนั้น  ควรเลือกโคมไฟแบบดาวน์ไลท์ หรือโคมไฟเพดาน  เพราะโคมไฟติดเพดานแบบนี้นั้นสามารถกระจายแสงให้ความสว่างอย่างทั่วถึง  เพียงพอต่อการใช้งาน  โคมไฟแบบนี้มีให้เลือกหลายแบบ และสามารถเลือกหลอดไฟที่ให้ความสว่างได้ตามความต้องการ  เช่นในห้องที่ต้องใช้สายตาทำงาน  หรือห้องแต่งตัวที่ต้องแต่งหน้านั้น  ควรต้องใช้ไฟแบบสว่างหรือแสงนีออนที่ไม่ใช่แสงสีเหลืองนวลๆ เพราะอาจทำให้ปวดตา หรือแต่งหน้าสีผิดเพี้ยนได้  ไฟแบบนี้มีข้อดีคือ  ค่อนข้างจะกลมกลืนกับการแต่งบ้านทุกรูปแบบ  ไม่ได้รู้สึกถึงความขัดแย้ง  แต่ข้อเสียคือความราบเรียบนี้เอง  ที่ทำให้ห้องที่ใช้โคมไฟติดเพดานแบบนี้แต่งห้องดูไม่ค่อยมีมิติ  ทั้งในด้านของความสวยงามภายนอกและในเรื่องของแสงที่ให้ออกมา  จึงควรใช้โคมไฟแบบอื่นๆ มาเพิ่มลูกเล่นเพื่อความสวยงาม  และช่วยในด้านของการปรับความสว่างให้บ้านสวยดูมีมิติมากขึ้นด้วย  โดยอาจใช้ไฟสปอตไลน์ หรือไฟหรี่เข้าไปมุมเฉพาะจุด ก็จะช่วยให้แสงสมดุลขึ้น
    ต่อมา  เป็นโคมไฟติดเพดานสำหรับห้องที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศจากห้องธรรมดาๆ ให้ดูเป็นห้องที่น่าสนใจและมีจุดดึงดูดสายตามากยิ่งขึ้น  โดยการเลือกใช้โคมไฟแบบห้อยหรือแชนเดอร์เลียร์  โคมไฟชนิดนี้นั้นเหมาะสำหรับให้แสงสว่างเฉพาะจุด  หรือเฉพาะเจาะจงลงบนพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน  ซึ่งบริเวณที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ก็ได้แก่  บริเวณโซฟารับแขก  โต๊ะรับประทานอาหาร  และระหว่างโถงทางเดิน นอกจากนั้น  สำหรับโคมไฟห้อยเดี่ยวแบบเล็กๆ ยังนิยมนำมาตกแต่งห้องต่างๆ ทั่วไปเพื่อความสวยงามด้วย  ข้อดีของโคมไฟแบบนี้คือความสวยงามโดดเด่น  ที่มีหลากหลายดีไซน์ให้เลือก  แต่ข้อเสียก็คือ  เนื่องจากความโดดเด่นที่มองเห็นได้ชัด  จึงทำให้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสไตล์การตกแต่งบ้านด้วย  เช่น  หากคุณตกแต่งบ้านในสไตล์โมเดิร์น  ผนังปูนเปลือยดิบๆ หรือเน้นสีดำแดงเท่ห์  แต่เลือกใช้โคมไฟห้อยระย้าหรูหรา  ระยิบระยับอันบิ๊กเบิ้มก็ดูจะไม่เข้ากันนัก ควรเลือกใช้โคมไฟห้อยเดี่ยว  หรือระย้ารูปทรงเรขาคณิต  หรือโลหะวงแหวนเท่ห์จะเหมาะสมกว่า   และนอกจากนั้นแล้ว การเลือกใช้โคมไฟติดเพดานแบบนี้ยังต้องคำนึงถึงรายละเอียดในการเลือกอีกมาก  เช่น
-    ความปลอดภัยในการติดตั้ง  ถ้าหากคุณเลือกโคมไฟแบบห้อยที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก  ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ควรออกแบบโครงเหล็กยึดกับโครงสร้างหลักหรือคานเพื่อความปลอดภัยในการติดตั้งด้วย
-    โคมไฟติดเพดานที่ห้อยลงมา ไม่เหมาะกับห้องที่มีเพดานเตี้ย  เพราะยิ่งจะทำให้รู้สึกอึดอัด  และรู้สึกว่าห้องแคบกว่าเดิม
-    ในกรณีติดตั้งโคมไฟระย้าในห้องที่มีความสูงมาตรฐานทั่วไป โคมไฟควรอยู่สูงจากพื้นประมาณ 6.5 ฟุต หรือ 1.95 เมตร แต่ไม่ควรสูงเกิน 7 ฟุต  แต่หากความสูงของห้องเกิน 8 ฟุต ให้แขวนโคมไฟระย้าสูงขึ้นได้อีกฟุตละ 3 นิ้ว หรือ 7.5 ซม. ก็ได้
-    หากพิถีพิถันกับเรื่องแสงกลัวแสงจะแยงตา  ควรนำหมวกครอบโคมไฟมาครอบตัวหลอดไว้ หรือเปลี่ยนเป็นหลอดฝ้าก็ได้  นอกจากนี้ ควรมีการติดตั้งดิมเมอร์เพื่อปรับระดับแสงตามได้อย่างยืดหยุ่นตามความต้องการ
-    ขนาดที่เหมาะสมของโคมไฟระย้าขึ้นกับความสูงฝ้าเพดานและขนาดห้อง หลักการคำนวณโดยทั่วไปทำได้โดยการวัดความกว้างของห้องเป็นฟุต  จากนั้นให้คูณสองจะเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคมที่มีหน่วยเป็นนิ้ว  เช่น ห้องมีความกว้าง 10 ฟุต โคมสำหรับห้องนี้ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 นิ้ว  อีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้คำนวณคือ นำความกว้างและความยาวของห้องบวกกันจะเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของโคม เช่น ห้องมีขนาด 10x12 ฟุต ควรเลือกขนาดของโคมกว้าง 22 นิ้ว เป็นต้น  ในกรณีที่ใช้กับโต๊ะอาหารควรมีความสูงจากระดับโต๊ะมากกว่า 30-34 นิ้ว เพื่อไม่ให้ศีรษะชนด้วย  และควรควรมีขนาดเล็กกว่าโต๊ะด้านล่าง 12 นิ้ว อีกสูตรคำนวณกล่าวว่า โคมควรมีขนาดประมาณ 1/3 ของความกว้างโต๊ะ เช่น โต๊ะกว้าง 5 ฟุต หรือ 150 ซม. จะเหมาะกับโคมไฟระย้าขนาดไม่เกิน 28 นิ้ว หรือไม่เกิน 70 ซม. เป็นต้น
-    สุดท้ายควรเลือกโคมไฟติดเพนดานแบบห้อยให้ไปกันได้กับเฟอร์นิเจอร์ภาพรวมในห้องด้วย
เพียงเคล็ดลับง่ายๆ นี้  ก็จะช่วยให้แสงสว่างภายในห้องของคุณไม่น่าเบื่อ  และคุณยังได้ห้องใหม่ที่สวยงาม  โดดเด่น  และมีเอกลักษณ์อีกด้วย

แบบโคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน
โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

โคมไฟติดเพดาน

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.