ในการสร้างบ้านเจ้าของบ้านบางคนอาจจะไม่ได้สร้างบ้านด้วยตัวเอง หรือว่าควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวเอง แต่ว่าเลือกที่ใช้บริการช่างก่อสร้าง หรือว่าบริการรับเหมาก่อสร้างที่ในสมัยนี้ถือได้ว่าเป็นงานบริการที่คนอยากเป็นเจ้าของบ้านชอบใช้บริการไปซะทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนเราจะเห็นป้ายรับก่อสร้างบ้านทุกที่ แต่ว่าหลังจากการสร้างดำเนินการไปแล้วนั้น เจ้าของบ้านแน่ใจได้ยังไงว่าบ้านที่เราจ้างเค้าสร้างนั้นเสร็จสมบูรณ์จริงหรือเปล่า? เพราะฉะนั้นในแต่ละครั้งของการสร้างจะมีการตรวจรับบ้านเพื่อให้แน่ใจว่าบ้านนั้นพร้อมให้เจ้าของบ้านเดินเข้าไปอยู่
วิธีตรวจรับบ้าน
วิธีตรวจรับบ้าน


วิธีการตรวจรับบ้านแบบไม่ต้องจ้างให้ใครมาตรวจ
    1. อย่างแรกที่เราจะเดินเข้าบ้านไปแล้วเห็นนั่นก็คือตัวบ้านโดยรวม ให้คุณมองดูโครงสร้างของบ้านว่าอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ ตัวอย่างของเสา หรือว่า คานที่เป็นโครงสร้างหลักของบ้านนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร โดยไม่ควรมีลักษณะที่โค้งหรืองอผิดรูป หรือว่ามีรอยแตกร้าวให้เห็นโดยเด็ดขาดถ้าไม่อย่างนั้นล่ะก็ นั่นหมายความว่าโครสร้างบ้านของคุณกำลังจะเกิดปัญหาขึ้นแล้วล่ะ

    2. ต่อมาเป็นเรื่องของพื้นนั่นเอง ในตอนที่เดินในบ้านหรือว่าภายนอกตัวบ้านนั้นถ้าหากว่ามีกระเบื้องเป็นสิ่งที่ปูพื้นควรตรวจสอบดูได้จากการที่เราสามารถนำเหรียญไปเคาะเบาๆ ที่ตัวกระเบื้อง โดยฟังเสียงถ้าหากว่าเสียงที่สะท้อนกลับมาเป็นเสียงกลวงก้องมากกว่าปกติแสดงว่าภายในนั้นมีพื้นที่ที่ไม่ได้ฉาบปูนลงไป และอาจเกิดปัญหาการแตกร้าวได้ในอนาคต และการเรียงตัวของกระเบื้องควรมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่วนในห้องน้ำควรใช้น้ำราดที่พื้นดูเพื่อดูระดับความลาดเอียงเพื่อดูว่าน้ำไหลตัวไปที่ท่อได้ดีหรือไม่

    3. ผนังนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่สามรถละเลยไปได้โดยเด็ดขาด โดยคุณสามารถดูได้จากสายตาได้ว่าผนังบ้านนั้นได้รับการฉาบที่สม่ำเสมอกันดีหรือไม่ และถ้าหากเกิดปัญหาลายแตกควรรีบแก้ไขทันที โดยการแก้ไขนั้นอาจขัดปูนที่ฉาบล่อนออกใหม่ แล้วฉาบปูนใหม่ทับอีกครั้ง และอีกสิ่งหนึ่งคือการทาสีที่ต้องเป็นสีที่สม่ำเสมอกัน ผนังไม่ควรมีสีเข้ม และสีอ่อนที่แตกต่างกันเพราะนั่นแสดงถึงการทาสีฝาผนังที่ไม่เท่ากัน

    4. เรื่องที่อาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตสำหรับบ้านที่ไม่ได้รับการตรวจที่ดีนั่นคือเพดานของบ้าน คุณควรตรวจเช็คแพดานดูว่ามีการฉาบที่เรียบเสมอกันหรือไม่ และควรมีการเดินสายไฟที่เหมาะสม ตลอดการดูการรั่วไหลของน้ำที่อาจมาจากการสร้างหลังคาที่ไม่ดี ในวันข้างหน้าอาจจะทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมของเพดานบ้านได้ ถ้าหากว่ามีปัญหานี้ควรแก้ไขทันทีโดยหาสาเหตุของน้ำรั่วไหลก่อน ไปจนถึงหลังคาที่ต้องมีการวางกระเบื้องที่เรียบร้อย ไม่มีส่วนไหนที่ถูกลืมทาบกระเบื้องหลังคา ส่วนบ้านที่เป็นพื้นดาดฟ้าควรเช็คเพื่อป้องกันปัญหาการรั่วของน้ำจากหลังคาด้วย

    5. ระบบน้ำในบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน หลายบ้านเกิดปัญหาน้ำไม่ไหล หรือน้ำไหลช้า อาจเป็นเพราะว่าการต่อน้ำเข้ามาในบ้านนั้นไม่ได้ประสิทธิภาพมากพอ โดยเฉพาะในห้องน้ำที่น้ำควรไหลให้ดี เมื่อคุณเทน้ำลงไปแล้วควรไหลลงท่อได้ตามปกติไม่ควรไหลช้าหรือมีน้ำขังเอาไว้ ส่วนบริเวณที่ต้องมีการใช้น้ำ เช่นห้องครัวก็ควรได้รับการตรวจที่ซิงค์ล้างจานเพื่อดูว่ามีท่อตรงไหนรั่วหรือน้ำไหลได้ดีหรือเปล่า

    6. ทุกบ้านนั้นต้องมีการใช้ไฟฟ้า โดยระบบไฟฟ้าของบ้านเป็นสิ่งสำคัญถ้าหากว่าจุดไหนมีปัญหาควรรีบแก้ไขก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้โดยที่ทุกคนในบ้านไม่ทราบมาก่อน สายไฟที่ถูกเดินทั้งภายในภายนอกของบ้านควรติดตั้งให้เหมาะสม เมื่อจุดไหนของบ้านมีสายไฟยื่นออกมาควรเดินสายไฟให้มิดชิด พร้อมกับเต้ารับปลั๊กไฟที่ควรไม่อยู่ในบริเวณที่เปียกน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตภายในบ้านได้เช่นเดียวกัน และเมื่อทดสอบไฟทุกดวงต้องติด ถ้าหากว่าเกิดปัญหาควรรีบแจ้งให้ช่างได้แก้ไข

    7. ส่วนภายนอกของบ้านเช่นพื้นควรมีการไล่ระดับของพื้นที่เท่าเสมอกัน แล้วถ้าเกิดว่าภายนอกตัวบ้านนั้นมีการเดินท่อ คุณควรมีการตรวจสอบภายในท่อด้วยเช่นกันว่าท่อน้ำมีการต่อเชื่อมถึงกันหรือไม่ และน้ำสามารถไหลผ่านได้ดีหรือเปล่า อีกทั้งตัวท่อเองควรจะได้รับการวางลงไปใต้ติดให้มิดชิดด้วย โดยท่อน้ำที่เป็นท่อเปิดหน้าควรมาตะแกรงหรือฝามาปิดให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

    8. สิ่งสุดท้ายคือรั้วบ้าน หรือบริเวณที่กั้นตัวบ้านจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกำแพงบ้าน หรือว่ารั้ว กำแพงบ้านควรตั้งฉากกับพื้นไม่ควรเอียงไปทางใดทางหนึ่ง มีฐานที่แข็งแรง ประตูรั้วต้องเลื่อน หรือเปิดเข้าออกได้ตามปกติ ไม่ควรติดขัดเวลาเปิดปิด และมีการเชื่อมเข้ากับกำแพงได้เรียบร้อย

    การตรวจรับบ้านไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คุณคิด เพียงแค่ใส่ใจบ้านที่คุณจะเข้าไปอยู่ซักนิดก็ไม่ต้องจ้างให้ใครมาตรวจบ้านของคุณเอง แล้วเสียเงินมากมายอีกต่อไปแล้วล่ะ

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.