บ้านคือสิ่งสำคัญสำหรับผู้คนเราทุกคน ในขณะนี้บางคน ก็มีบ้านเป็นของตนเองแล้ว บางคนกำลังดำเนินการซ่อมแซมบ้านอยู่ แต่บางคนคงกำลังมองหาทำเลที่จะปลูกสร้างบ้านอยู่เช่นกัน บทความนี้จะขอนำเสนอ วิธีการเลือกทำเลในการสร้างบ้าน จริงๆ แล้วก่อนที่จะเลือกทำเลในการสร้างบ้านนั้น เราต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของตัวเราก่อนว่าต้องการอะไรจากการสร้างบ้านหลังนี้ ปลูกบ้านหลังนี้ไว้เพื่ออยู่อาศัย ในชีวิตประจำวัน ปลูกไว้พักผ่อน ปลูกไว้เพื่อให้เช่า เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีด้วยกันดังนี้
1.งบประมาณ
งบประมาณจะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดทำเลที่ต้องการสร้างบ้านได้ค่อนข้างชัดเจน หากเราต้องการทำเลที่เป็นแหล่งทำเลทอง ราคาก็ย่อมต้องสูงเป็นธรรมดา และอาจจะทำให้เราได้พื้นที่สำหรับการสร้างบ้านน้อยลงไป ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการใช้งานต้องสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ด้วย
2.ดิน น้ำ ลม อากาศ แดด
ดิน น้ำ ลม อากาศ แดด คือสภาพแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยกำหนดตามวัตถุประสงค์ของการสร้างบ้านการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช่ในการสร้างบ้านเลยที่เดียว เช่น เราชอบอากาศเย็นๆ แต่ต้องมาสร้างบ้านอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน ก็จะต้องเพิ่มวัสดุกันความร้อน ต่างๆ ในทุกๆ ส่วน คำนวณพื้นที่การติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม เพื่อให้บ้านเย็นตามอุปนิสัยของเรา หรือเราอาจชอบปลูกพืชผักสวนครัว ไว้รับประทานเองก็ต้องหาพื้นที่ ที่น้ำท่วมได้ยากแต่มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น
3.การคมนาคม
การคมนาคม ถือเป็นอีก หนึ่งปัจจัยสำคัญในปัจจุบันนี้ หากเราต้องการสร้างบ้านไว้เป็นที่อยู่อาศัย แต่สถานที่ทำงาน อยู่ไกลและการคมนาคม ไม่สะดวก จะทำให้เราเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย
4.ความจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต
ความจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต เช่น แหล่งจับจ่ายสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล สถานีตำรวจ สถานศึกษา ให้ตรงตามวัตถุประสงค์และประโยชน์การใช้สอยของเรา
5.เพื่อนบ้าน
เพื่อนบ้าน นี้มีความสำคัญอย่างมาในการดำรงชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอนาคต บางคนอาจจะค้านว่าเพื่อนบ้านไม่ได้มีส่วนสำคัญในชีวิตของฉัน แต่ผู้เขียนอยากจะบอกว่า มีเพื่อนบ้านดี ยิ่งกว่ามีสันญาณกันขโมยชั้นยอด จากสถิติการรายงานเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน จากเหตุเดือดร้อนและรำคาญ พบว่าเรื่องร้องเรียนจากเหตุเดือดร้อนและรำคาญ นั้น ส่วนใหญ่เกิดมาจาก เพื่อนบ้านทะเลาะกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ยอม จนกลายเป็นปัญหาและไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ถ้าหากเรามีเพื่อนบ้านดีนั้น นอกจากจะไม่มีปัญหาในการอยู่อาศัยกันแล้ว หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในบ้านของเรา เพื่อนบ้านจะยินดีที่จะแจ้งให้เราทราบและช่วยเหลือแก้ไขในทันที
6.หลักของฮวงจุ้ย
หลักของฮวงจุ้ยนั้น ความเชื่อเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติของคนไทย ที่จะต้องมีหลักความเชื่อทางพิธีกรรมศาสนามาช่วยในเรื่องของการตัดสินใจต่าง ๆ นาๆ การเลือกทำเลในการสร้างบ้านก็เช่นกัน บางท่านก็เชิญผู้รู้มาตรวจสอบที่ดิน วางพื้นที่ จัดสิ่งต่าง ๆ ตามที่ผู้รู้ ได้แจ้งไว้เป็นแนวทางตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยและความสบายใจ ในการดำเนินการต่าง ๆ บางท่านก็ได้นำโฉนดที่ดินไปปรึกษากับผู้รู้เพื่อความรอบคอบ ในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นไปตามความเชื่อของผู้อยู่อาศัย
7.ภัยธรรมชาติ
ขึ้นชื่อว่าภัยธรรมชาติ เราย่อมไม่สามารถที่จะคาดการได้ล่วงหน้าอย่างถูกต้องแม่นยำได้ 100 % แต่เราสามารถเลือก ได้ตามสถิติและพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้แล้ว เพียงแต่ก่อนจะตัดสินใจ เราควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อน หรือว่าดูสภาพแวดล้อมของชุมชนในทำเลที่เราเลือกว่า สร้างบ้านเป็นลักษณะเช่นใด เช่น สร้างยกพื้นสูงๆ หรือว่าถมดินสูงๆ ก็ให้ตระหนักไว้ว่าอาจมีภัยอุทกภัยเกิดขึ้นก็ได้ แต่ถ้าสามารถสอบถามบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงได้ จะได้ข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้น และถือว่าเป็นการศึกษาเพื่อนบ้านไปในคราวเดียวกัน
8.ขนาดพื้นที่
ขนาดพื้นที่ ที่จะได้มานั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่เราได้ตั้งไว้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติว่า ทำเลที่ดีนั้น ย่อมมีราคาสูงกว่าทำเลที่ด้อยลงมา เป็นธรรมดา ซึ่งขนาดของพื้นที่ก็จะโยงไปสู่วัตถุประสงค์ของการใช้สอยของเราเอง การตัดสินใจนั้นก็จะขึ้นอยู่กับตัวเราล้วนๆ เพราะนี้คือบ้านของเรา เราก็ควรจะได้ดำเนินการตามใจปรารภนาของเรา จริงๆ
แต่ถ้าหากว่าความต้องการและวัตถุประสงค์ของเราตีกันให้มั่วไปหมด ไม่สามารถตัดสินใจได้ ว่าจะต้องเลือกบริเวณใดเป็นทำเลในการสร้างบ้านจริงๆ ขอแนะนำ การสร้างตาราง การตัดสินใจขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อเป็นข้อมูลในการเลือก วิเคราะห์ และตัดสินใจดังนี้
ตารางเปรียบเทียบทำเลการเลือกสร้างบ้านใน 2 พื้นที่
พื้นที่ A
พื้นที่ B
*ค่าน้ำหนักคิดจาก 100 % แล้วแยกตามความวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ ไม่จำเป็นต้องเท่ากันได้ ให้ค่าน้ำหนักตามสิ่งที่เราต้องการมากเป็นพิเศษ
** ค่าคะแนนที่ได้ ตั้งตามเกณฑ์ที่เรากำหนด เช่น การคมนาคน จากทำเลสร้างบ้าน ไปที่ทำงานระยะทาง 1-5 กิโลเมตร ให้ 10 คะแนน 6-10 กิโลเมตร ให้ 9 คะแนนซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่เรากำหนด
ซึ่งจากกรณีนี้ พื้นที่ B มีค่าคะแนนมากว่า เราจึงควรเลือก พื้นที่นี้เพราะตอบสนองต่อความต้องการเรามากกว่า ซึ่งต่างคนอาจจะมีทางเลือกในการเลือกทำเลสร้างบ้านไม่เหมือนกัน หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในการเลือกสร้างบ้านของเราได้ไม่มากก็น้อย
วิธีเลือกหาทำเลสร้างบ้าน |
1.งบประมาณ
งบประมาณจะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดทำเลที่ต้องการสร้างบ้านได้ค่อนข้างชัดเจน หากเราต้องการทำเลที่เป็นแหล่งทำเลทอง ราคาก็ย่อมต้องสูงเป็นธรรมดา และอาจจะทำให้เราได้พื้นที่สำหรับการสร้างบ้านน้อยลงไป ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการใช้งานต้องสอดคล้องกับงบประมาณที่ได้ตั้งไว้ด้วย
2.ดิน น้ำ ลม อากาศ แดด
ดิน น้ำ ลม อากาศ แดด คือสภาพแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยกำหนดตามวัตถุประสงค์ของการสร้างบ้านการเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช่ในการสร้างบ้านเลยที่เดียว เช่น เราชอบอากาศเย็นๆ แต่ต้องมาสร้างบ้านอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน ก็จะต้องเพิ่มวัสดุกันความร้อน ต่างๆ ในทุกๆ ส่วน คำนวณพื้นที่การติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม เพื่อให้บ้านเย็นตามอุปนิสัยของเรา หรือเราอาจชอบปลูกพืชผักสวนครัว ไว้รับประทานเองก็ต้องหาพื้นที่ ที่น้ำท่วมได้ยากแต่มีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น
3.การคมนาคม
การคมนาคม ถือเป็นอีก หนึ่งปัจจัยสำคัญในปัจจุบันนี้ หากเราต้องการสร้างบ้านไว้เป็นที่อยู่อาศัย แต่สถานที่ทำงาน อยู่ไกลและการคมนาคม ไม่สะดวก จะทำให้เราเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย
4.ความจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต
ความจำเป็นพื้นฐานต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต เช่น แหล่งจับจ่ายสินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล สถานีตำรวจ สถานศึกษา ให้ตรงตามวัตถุประสงค์และประโยชน์การใช้สอยของเรา
5.เพื่อนบ้าน
เพื่อนบ้าน นี้มีความสำคัญอย่างมาในการดำรงชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอนาคต บางคนอาจจะค้านว่าเพื่อนบ้านไม่ได้มีส่วนสำคัญในชีวิตของฉัน แต่ผู้เขียนอยากจะบอกว่า มีเพื่อนบ้านดี ยิ่งกว่ามีสันญาณกันขโมยชั้นยอด จากสถิติการรายงานเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน จากเหตุเดือดร้อนและรำคาญ พบว่าเรื่องร้องเรียนจากเหตุเดือดร้อนและรำคาญ นั้น ส่วนใหญ่เกิดมาจาก เพื่อนบ้านทะเลาะกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ยอม จนกลายเป็นปัญหาและไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ถ้าหากเรามีเพื่อนบ้านดีนั้น นอกจากจะไม่มีปัญหาในการอยู่อาศัยกันแล้ว หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นในบ้านของเรา เพื่อนบ้านจะยินดีที่จะแจ้งให้เราทราบและช่วยเหลือแก้ไขในทันที
6.หลักของฮวงจุ้ย
หลักของฮวงจุ้ยนั้น ความเชื่อเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติของคนไทย ที่จะต้องมีหลักความเชื่อทางพิธีกรรมศาสนามาช่วยในเรื่องของการตัดสินใจต่าง ๆ นาๆ การเลือกทำเลในการสร้างบ้านก็เช่นกัน บางท่านก็เชิญผู้รู้มาตรวจสอบที่ดิน วางพื้นที่ จัดสิ่งต่าง ๆ ตามที่ผู้รู้ ได้แจ้งไว้เป็นแนวทางตามความต้องการของผู้อยู่อาศัยและความสบายใจ ในการดำเนินการต่าง ๆ บางท่านก็ได้นำโฉนดที่ดินไปปรึกษากับผู้รู้เพื่อความรอบคอบ ในการตัดสินใจด้านต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นไปตามความเชื่อของผู้อยู่อาศัย
7.ภัยธรรมชาติ
ขึ้นชื่อว่าภัยธรรมชาติ เราย่อมไม่สามารถที่จะคาดการได้ล่วงหน้าอย่างถูกต้องแม่นยำได้ 100 % แต่เราสามารถเลือก ได้ตามสถิติและพื้นที่ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ให้แล้ว เพียงแต่ก่อนจะตัดสินใจ เราควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อน หรือว่าดูสภาพแวดล้อมของชุมชนในทำเลที่เราเลือกว่า สร้างบ้านเป็นลักษณะเช่นใด เช่น สร้างยกพื้นสูงๆ หรือว่าถมดินสูงๆ ก็ให้ตระหนักไว้ว่าอาจมีภัยอุทกภัยเกิดขึ้นก็ได้ แต่ถ้าสามารถสอบถามบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงได้ จะได้ข้อมูลที่แม่นยำยิ่งขึ้น และถือว่าเป็นการศึกษาเพื่อนบ้านไปในคราวเดียวกัน
8.ขนาดพื้นที่
ขนาดพื้นที่ ที่จะได้มานั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่เราได้ตั้งไว้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติว่า ทำเลที่ดีนั้น ย่อมมีราคาสูงกว่าทำเลที่ด้อยลงมา เป็นธรรมดา ซึ่งขนาดของพื้นที่ก็จะโยงไปสู่วัตถุประสงค์ของการใช้สอยของเราเอง การตัดสินใจนั้นก็จะขึ้นอยู่กับตัวเราล้วนๆ เพราะนี้คือบ้านของเรา เราก็ควรจะได้ดำเนินการตามใจปรารภนาของเรา จริงๆ
แต่ถ้าหากว่าความต้องการและวัตถุประสงค์ของเราตีกันให้มั่วไปหมด ไม่สามารถตัดสินใจได้ ว่าจะต้องเลือกบริเวณใดเป็นทำเลในการสร้างบ้านจริงๆ ขอแนะนำ การสร้างตาราง การตัดสินใจขึ้นมาเปรียบเทียบเพื่อเป็นข้อมูลในการเลือก วิเคราะห์ และตัดสินใจดังนี้
ตารางเปรียบเทียบทำเลการเลือกสร้างบ้านใน 2 พื้นที่
พื้นที่ A
ตารางการเลือกทำเลสร้างบ้านเมื่องบประมาณเท่ากัน
|
||||
รายการที่ต้องการ
|
*ค่าน้ำหนัก
|
**ค่าคะแนนที่ได้เต็ม 10
|
คะแนนที่ได้
|
คะแนนรวม
|
ดิน
|
*10 %
|
8
|
80
|
69 |
อากาศ
|
10 %
|
9
|
90
|
|
ลม
|
10 %
|
7
|
70
|
|
แดด
|
10 %
|
5
|
50
|
|
คมนาคม
|
10 %
|
9
|
90
|
|
เพื่อนบ้าน
|
10 %
|
2
|
20
|
|
สังคม
|
10 %
|
6
|
60
|
|
หลักฮวงจุ้ย
|
10 %
|
7
|
70
|
|
ภัยธรรมชาติ
|
10 %
|
8
|
80
|
|
ขนาดพื้นที่
|
10 %
|
8
|
80
|
พื้นที่ B
ตารางการเลือกทำเลสร้างบ้านเมื่องบประมาณเท่ากัน
|
||||
รายการที่ต้องการ
|
ค่าน้ำหนัก
|
**ค่าคะแนนที่ได้เต็ม 10
|
คะแนนที่ได้
|
คะแนนรวม
|
ดิน
|
*10 %
|
6
|
60
|
70
|
อากาศ
|
10 %
|
6
|
60
|
|
ลม
|
10 %
|
6
|
60
|
|
แดด
|
10 %
|
8
|
80
|
|
คมนาคม
|
10 %
|
8
|
80
|
|
เพื่อนบ้าน
|
10 %
|
6
|
60
|
|
สังคม
|
10 %
|
8
|
80
|
|
หลักฮวงจุ้ย
|
10 %
|
7
|
70
|
|
ภัยธรรมชาติ
|
10 %
|
6
|
60
|
|
ขนาดพื้นที่
|
10 %
|
9
|
90
|
*ค่าน้ำหนักคิดจาก 100 % แล้วแยกตามความวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ ไม่จำเป็นต้องเท่ากันได้ ให้ค่าน้ำหนักตามสิ่งที่เราต้องการมากเป็นพิเศษ
** ค่าคะแนนที่ได้ ตั้งตามเกณฑ์ที่เรากำหนด เช่น การคมนาคน จากทำเลสร้างบ้าน ไปที่ทำงานระยะทาง 1-5 กิโลเมตร ให้ 10 คะแนน 6-10 กิโลเมตร ให้ 9 คะแนนซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่เรากำหนด
ซึ่งจากกรณีนี้ พื้นที่ B มีค่าคะแนนมากว่า เราจึงควรเลือก พื้นที่นี้เพราะตอบสนองต่อความต้องการเรามากกว่า ซึ่งต่างคนอาจจะมีทางเลือกในการเลือกทำเลสร้างบ้านไม่เหมือนกัน หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในการเลือกสร้างบ้านของเราได้ไม่มากก็น้อย
Post A Comment:
0 comments: