ซ่อมบ้านทรุด สาเหตุ วิธีแก้ไข ราคา และบริษัทรับเหมา

ปัญหาบ้านทรุดเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่มีบ้าน บัานหลังไหนที่เกิดปัญหาดินทรุดตัวจะเป็นปัญหาเรื่องรังต่อเนื่องระยะยาว babbaan.in ได้รวบรวมข้อมูลปัญหา สาเหตุ และวิธีการแก้ไขซ่อมบ้านทรุดมาเป็นข้อมูลให้คนที่กำลังจะสร้างบ้านหรือสร้างบ้านแล้วเกิดปัญหาบ้านทรุดไว้เป็นแนวทางศึกษา เพราะบ้านราคาปัญหาล้านหากเกิดปัญหาบ้านทรุดมาอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ้านมากขึ้น รวมถึงอาจจะเป็นอัตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัยอีกด้วย

เนื้อหาข้อมูลการซ่อมบ้านทรุด
บ้านทรุดเกิดจากอะไร
สาเหตุทำให้บ้านทรุด
บ้านทรุดกี่ปี
สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด
ตอกเสาเข็มป้องกันบ้านทรุด
เสาเข็มมีกี่ประเภท
ซ่อมบ้านทรุดอย่างไร
บริษัทไหนรับแก้ไขบ้านทรุดตัวบ้านร้าว

บ้านทรุดเกิดจากอะไร

ปัญหาบ้านทรุด พื้นทรุด เกิดจากที่ดินใต้บริเวณที่สร้างบ้านยุบตัวลงไป เป็นผลให้ฐานรากของบ้านทรุดลงไปด้วย บ้านทรุดทำให้เกิดปัญหารอยแตกร้าวของผนังบ้านและหากบ้านทรุดตัวลงลึกมากๆก็จะทำให้มีผลกระทบกับโครงสร้างบ้านอาจจะทำให้บ้านถล่มลงมาได้เช่นกัน เราจึงควรแก้ไขปัญหาบ้านทรุดอย่างทันทีไม่ควรปล่อยไว้เพราะจะยิ่งเพิ่มความเสียหายกับโครงสร้างบ้านของเรา

นอกจากปัญหาบ้านทรุดแล้วยังมีปัญหาพื้นดินยกตัวขึ้นด้วย ซึ่งปัญหาพื้นบ้านยกตัวส่วนมากจะเกิดจากการปลูกต้นไม้ใหญ่ใกล้บ้านแล้วรากของต้นไม้ชอนไชเข้าใต้พื้นบ้านของเรา เมื่อรากไม้เจริญเติบโตขึ้นมันจะดันพื้นบ้านของเราให้ยกตัวไปด้วยปัญหานี้ควรแก้ด้วยการอย่า่ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ใกล้บ้านของเรา

สาเหตุทำให้บ้านทรุด

บ้านทรุดมีหลายสาเหตุเราไปลองดูว่าบ้านทรุดนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง
- ดินทรุดจากปัญหาดินสไลด์ คนที่ถมที่ดินเพื่อสร้างบ้านหรือสร้างบ้านใกล้กับแม่น้ำมักจะเกิดปัญหาดินสไลด์ตัวส่งผลให้พื้นบ้านของเราทรุด บ้านที่ปลูกใกล้แม่น้ำควรทำกำแพงหรือตอกเสาเพื่อป้องกันดินสไลด์ตัวไว้ด้วย

- ดินทรุดเกิดจากน้ำท่วม หากเกิดอุทกภัยน้ำท่วมบ้านของเราน้ำจำนวนมากจะไหลไหลใต้ดิน และอาจจะไปกัดเซาะดินใต้พื้นบ้านของเรา หรือทำให้ดินใต้พื้นบ้านของเราอ่อนตัว ทำให้เกิดปัญหาดินทรุดได้เช่นกัน

- ดินทรุดเกิดจากบ้านที่ไม่ตอกเสาเข็ม บ้านที่สร้างบนที่ดินที่อ่อนตัวเช่นดินเหนียวหรือบ้านที่ถมดินเพื่อสร้างบ้าน ควรจะตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานรากของบ้านเพื่อไม่ให้บ้านทรุดตัว หากสร้างบ้านโดยไม่ตอกเสาเข็มก็อาจจะเกิดปัญหาดินทรุดตัวได้

- ตอกเสาเข็มไม่ลึกพอ การตอกเสาเข็มนั้นหากตอกไม่ลึกพอลงถึงดินที่แข็ง ก็จะทำให้ตัวบ้านสามารถทรุดได้เช่นกัน การตอกเสาเข็มวิศวกรรมจะมีการคำนวณการทรุดตัวอยู่หากตอกเสาเข็ม 1 ที ต้องทรุดตัวน้อยกว่าเท่าไหร่ถึงจะไม่ต้องตอกต่อไป

- การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ข้างบ้าน การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่มีการตอกเสาเข็มจะทำให้พื้นดินสะเทือนและส่งผลให้ดินรอบๆทรุดตัวได้

- ขุดดินหรือโพรงขนาดใหญ่ข้างบ้าน การขุดดินหรือหลุมลึกใกล้กับตัวบ้านจะมีโอกาสทำให้ดินสไลด์ลงหลุมหรือโพรงที่ขุดมีผลทำให้ตัวบ้านทรุได้เช่นกัน

- ท่อน้ำใต้ดินรั่ว บางคนเวลาสร้างบ้านอาจจะไม่รู้ว่าใต้บ้านของเรามีท่อน้ำหรือท่อปะปา ซึ่งหากท่อน้ำรั่วก็จะกัดเซาะดินทำให้บ้านทรุดตัวได้เช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดนั้นเป็นสาเหตุที่เราสามารป้องกันได้ โดยเฉพาะการวางเสาเข็มเพื่อรองรับฐานรากของตัวบ้าน เพราะฉะนั้นหากไม่อยากให้บ้านทรุดตัวควรจะหาวิธีป้องกันบ้านทรุดตัวก่อนที่จะสร้างบ้าน

บ้านทรุดกี่ปี

พื้นดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเยอะๆในเมืองใหญ่จะมีการทรุดของพื้นดินโดยปกติอยู่แล้ว ในกรุงเทพมหานครจะมีอัตราการทรุดพื้นดินเฉลี่ยปีละ 1 เซนติเมตร และยังแบ่งออกเป็นตามเขตวิกฤษอีกด้วย

เขตวิกฤตอันดับ 1 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินมากกว่าปีละ 3 เซ็นติเมตร และระดับน้ำบาดาลลดลงมากกว่าปีละ 3 เมตร ซึ่งในกรุงเทพครอบคลุมพื้นที่ 12 เขต อาทิ มีนบุรี บางกะปิ บางเขน ดอนเมือง ลาดพร้าว ฯลฯ

เขตวิกฤตอันดับ 2 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินระหว่าง 1-3 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดลงระหว่าง 2-3 เมตรต่อปี ครอบคลุมพื้นที่ 21 เขต อาทิ บางขุนเทียน บางคอแหลม ดุสิต พระนคร ป้อมปราบบางรัก ปทุมวัน ฯลฯ

เขตวิกฤตอันดับ 3 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดน้อยลงกว่า 2 เมตร ต่อปี ซึ่งครอบคลุมเขตที่อยู่นอกเหนือ

*บางแห่งทรุดตัวมากกว่าปีละ 10 เซนติเมตร

ในส่วนของการทรุดตัวของพื้นบ้านนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าโพรงที่อยู่ใต้พื้นบ้านมีขนาดใหญ่เพียงไร และระดับความอ่อนของดินใต้พื้นบ้านหากอ่อนมากก็ทรุดตัวลงได้เร็ว แต่ถ้าเป็นดินแข็งอยู่แล้วก็จะไม่เกิดการทรุดตัวหรือทรุดตัวน้อยมาก สำหรับปัญหาบ้านทรุดกี่ปีนั้นต้องบอกได้เลยว่าถ้าไม่ทำการแก้ไขบ้านก็จะทรุดไปเรื่อยจนกว่าฐานรากจะถึงจุดที่ดินแข็งตัว

สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด 

เราสามารถลดปัจจัยความเสี่ยงที่จะทำให้บ้านเรามีปัญหาบ้านทรุดเมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วได้ โดยควรหลีกเลี่ยงการสร้างบ้านในลักษณะต่อไปนี้
สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด
สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด

- สร้างบ้านบนท่อน้ำปะปา ควรหลีกเลี่ยงการสร้างบ้านทับท่อน้ำปะปาเพราะหากเกิดท่อน้ำปะปาแตกใต้บ้านของเราจะทำให้เกิดโพรงแล้วทำให้บ้านทรุดตัวได้
- สร้างบ้านใกล้อาคารก่อสร้าง หลีกเลี่ยงการสร้างบ้านใกล้พื้นที่ๆมีแน้วโน้มว่าจะมีการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ เพราะการสั่นสะเทื่อนเมื่อสร้างอาคารขนาดใหญ่จะทำให้บ้านทรุดได้
- สร้างบ้านใกล้คลองส่งน้ำ การสร้างบ้านใกล้คลองส่งน้ำ แม่น้ำ หรือคลองชลประทานมีโอกาสที่น้ำจะเซาะดินใต้บ้านของเราทำให้บ้านของเราทรุดได้เช่นกัน
- สร้างบ้านใกล้ต้นไม้ขนาดใหญ่ นอกจากมีโอกาสที่กิ่งไม้ขนาดใหญ่จะหักโค้นทับบ้านเมื่อเกิดพายุแล้ว ยังมีโอกาสทำให้บ้านทรุดตัวหรือยกตัวจากรากต้นไม้ที่ชอนไชไปใต้พื้นบ้านอีกด้วย
- สร้างบ้านใกล้ถนนใหญ่ เวลาที่รถบรรทุกขนาดใหญ่ขับผ่านจะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงตัวบ้านและอาจจะทำให้ดินใต้บ้านของเราทรุดตัวได้
- สร้างบ้านบนดินอ่อน ดินเหนียวหรือดินที่ยังไม่แข็งตัวเช่นดินที่เพิ่งสั่งมาถมเพื่อสร้างบ้านต้องรอให้ดินแห้งและแข็งเสียก่อนที่จะสร้างบ้าน แต่ถ้าดินอ่อนไม่สามารถแข็งตัวได้ก็ควรตอกเสาเข็มเสริมฐานรากของตัวบ้านเพื่อป้องกันบ้านทรุด


ตอกเสาเข็มป้องกันบ้านทรุด



ตอกเสาเข็มป้องกันบ้านทรุด
ภาพแสดงการตอกเสาเข็มถึงชั้นดินเแข็งเพื่อป้องกันบ้านทรุด
การตอกเสาเข็มจะช่วยป้องกันไม่ให้บ้านทรุดได้เหมาะสำหรับคนที่สร้างบ้านบนพื้นดินที่เป็นดินอ่อนเช่นดินเหนียว โดยช่างจะทำการตอกเสาเข็มไปจนถึงพื้นดินที่แข็งตัวจำนวนเสาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของคานบ้าน เมื่อถึงชั้นดินแข็งแล้วก็จะหยุดตอกและจะสร้างฐานรากบนเสาเข็มนั่นเอง เสาเข็มนิยมใช้กับบ้านที่มีหลายชั้นหรืออาคารสูงเพราะมีน้ำหนักกดทับพื้นดินมากกว่าบ้านชั้นเดียว

เสาเข็มมีกี่ประเภท 

การตอกเสาเข็มสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
เสาเข็มมีกี่ประเภท
เสาเข็มมี 2 ประเภท ภาพจาก http://changmuns.blogspot.com

เสาเข็มตอก คือ การตอกเสาเข็มโดยใช้เสาเข็มสำเร็จรูปซึ่งทำมาจากวัสดุหลายชนิดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเสาเข็มคอนกรีตเสิรมเหล็ก แต่ก็มีบางชนิดที่ใช้ไม้ และเสาเข็มเหล็กซึ่งมีราคาแพงที่สุด เสาเข็มประเภทนี้จะรับน้ำหนักได้ดีกว่าเสาเข็มแบบเจาะ เพราะมีทั้งแรงเสียดทานด้านข้างและแรงดันจากปลายเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนัก

เสาเข็มเจาะ คือ การเจาะรูเพื่อสร้างเสาเข็มแทนการเจาะลงไปเหมาะสำหรับพื้นที่ก่อสร้างที่แคบไม่สามารถตอกเสาเข็มได้ หรือพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตอาคารล้อมรอบเขตก่อสร้าง เพราะการตอกเสาเข็มจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและอาจจะทำให้บ้านรอบเขตก่อสร้างเกิดปัญหาบ้านทรุดได้ แต่เสาเข็มแบบเจาะจะมีราคาแพงมากกว่าเสาเข็มแบบตอกและรับน้ำหนักได้น้อยกว่าเสาเข็มตอกในขนาดเสาเข็มที่เท่ากัน

ซ่อมบ้านทรุดอย่างไร

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถซ่อมบ้านที่ทรุดเอียงให้กลับมาตรงได้โดยไม่ต้องทุบบ้านใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบ้านทรุดจะแยกออกได้เป็น 2 ปัญหาหลัก คือ บ้านทรุดโดยไม่กระทบฐานราก และ บ้านทรุดจากฐานราก

ซ่อมบ้านทรุดโดยไม่กระทบฐานราก ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากดินใต้อาคารบ้านเป็นโพรงทำให้พื้นบ้านยุบตัว แต่ไม่กระทบกับรากฐานของตัวบ้าน ผนังบ้านไม่แตกร้าว วิธีนี้จะแก้ปัญหาได้ง่ายกว่าคือช่างจะเจาะพื้นแล้วอัดดิน หรือทราย หรือซีเมนต์ เข้าไปใต้พื้นดินที่เป็นโพรง ปัจจุบันมีการซ่อมพื้นบ้านที่เป็นโพรงโดยไม่ต้องรื้อพื้นบ้านทั้งหมดด้วยการเจาะรูแล้วอัด Poly-Urethane ซึ่งคุณสมบัติคล้ายยางเข้าไปเพื่อให้พื้นบ้านเท่ากันได้ บ้านทรุดใต้พื้นดินเป็นโพรงหากไม่แก้ไขจะทำให้กลายเป็นที่อยู่ของสัตว์ได้
คลิปซ่อมบ้านทรุดเป็นโพรงใต้พื้นบ้าน
เครดิต https://groundworkssolutions.com/2016/11/23/repairing-soil-subsidence/

ซ่อมบ้านทรุดกระทบฐานราก บ้านที่มีปัญหาบ้านทรุดกระทบกับโครงสร้างของตัวบ้านจะเป็นอันตรายต่อโครงสร้างบ้าน จะแก้ไขด้วยการเสริมฐานหลากด้วยเสาเข็มหากทรุดมากก็เสริมหลายเสา หลังจากนั้นจะยกฐานรากที่ทรุดตัวขึ้นด้วยไฮดรอริกทำให้ฐานรากของตัวบ้านกลับมาเป็นปกติ
คลิปซ่อมบ้านทรุดโดยเสริมเสาเข็มที่ฐานราก


ซ่อมบ้านทรุดราคาเท่าไหร่

ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ้านทรุดโดยการแก้ไขฐานรากทรุดตัวจะขึ้นอยู่กับจำนวนเสาเข็มที่ใช้เสริมฐานราก ถ้าเสริมด้วยเสาเข็มเหล็กที่ติดตั้งด้วยไฮดอรลิกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม. ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาท ซึ่งเสาเข็มก็จะมีหลายลักษณะหากอยากได้ที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาบ้านทรุดของเราต้องปรึกษาช่างหรือวิศวะกรอีกที


บริษัทไหนรับแก้ไขบ้านทรุดตัวบ้านร้าว

หลายบริษัทมีเทคโนโลยีในการซ่อมแซมบ้านทรุดตัว บ้านแตกร้าว หรือโพรงใต้พื้นบ้านได้หลายบริษัท ควรเลือกบริษัทที่มีผลงานการันตรีและมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย เราได้นำตัวอย่างบริษัที่รับซ่อมบ้านทรุดมาเป็นข้อมูลให้ท่านพิจารณา

หจก.โอเอ็น คอนสตรัคชั่น 999
บริการรับซ่อมบ้านทรุดปรับยกเสริมฐานราก รวมถึงมีบริการดีดบ้าน ยกบ้าน อาคารขนาดใหญ่ก็สามารถทำได้มีเว็บไซต์และมีผลงานให้ชมลองติดต่อได้ที่ http://www.on-construction.com/

Complete Micropile
บริการซ่อมแซมบ้านยกรากฐานบ้านทรุดรวมถึงมีโรงงานเสาเข็มจัดจำหน่าย มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐานบริษัทเชี่ยวชาญเรื่องเสาเข็มติดต่อที่ http://completemicropile.com

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหกิจไพศาล
บริการซ่อมแซมและปรึกษาทุกปัญหาสิ่งก่อสร้าง บ้านทรุด อาคารแตกร้าว มีประสบการณ์กว่า 50 ปี มีตัวอย่างผลงานให้ชมติดต่อที่ http://www.sahakijpaisarn.com

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.