เมื่อมีการอยู่อาศัยก็ย่อมต้องมีของเสียจากการทิ้งเศษอาหารลงท่อ การอาบน้ำที่ชำระล้างคราบสกปรกต่างๆ รวมไปถึงการขับถ่าย ซึ่งของเสียเหล่านี้เมื่อลงท่อก็จะถูกกำจัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้น้ำที่ถูกแยกออกจากกากไม่เสียไปอย่างสูญเปล่าและไม่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในอนาคต การปล่อยของเสียในอดีตจะนิยมทำเป็นบ่อเกรอะตามบ้าน ที่เมื่อถึงเวลาบ่อเต็มก็จะมีการเรียกบริการดูดออกไปเพื่อนำไปทำลายทิ้ง แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป จึงเกิดความสะดวกและประหยัดมากกว่านั้น คือ การฝังถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปลงไปใต้ดิน แล้วมีการจัดการภายในถังอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้การกำจัดของเสียและจัดการน้ำที่เหลือเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบกำจัดน้ำเสียสำเร็จรูปมีประโยชน์อย่างไร?


ระบบบำบัดน้ำเสีย
Cr. www.iseehomecomplex.com


      ระบบกำจัดน้ำเสียแบบสำเร็จรูปถูกออกแบบมาเพื่อให้จัดการของเสียด้วยตัวเอง แล้วแยกเอาน้ำออกไปพักเพื่อทำเกิดการตกตะกอนของเสีย จนทำให้น้ำนั้นไม่เกิดกลิ่นแล้วจึงปล่อยน้ำลงไปสู่แอ่งน้ำสาธารณะเพื่อการหมุนเวียนต่อไป โดยมีหลักการคือเมื่อของเสียเข้ามาที่ถังบำบัด ก็จะเกิดการแยกเอากากของเสียออกจากน้ำ กากของเสียทั้งหมดก็จะไหลลงสู่ก้นถังแล้วใช้หลักจุลินทรีย์ที่มีอยู่เต็มก้นถังเป็นตัวย่อยกากเหล่านี้ให้สลายไปตามธรรมชาติ เมื่อน้ำโดนแยกออกมาพักไว้อีกถังหนึ่งก็เพียงแค่รอการตกตะกอน เท่านี้การกำจัดของเสียก็จะไร้ปัญหา ไม่ต้องเรียกรถมาดูดให้เปลืองเงินและเวลา ทั้งยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย


       เมื่อการกำจัดของเสียภายในบ้านเป็นเรื่องสำคัญ เจ้าของบ้านจึงควรเลือกถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปที่ได้มาตรฐาน มีชื่อเสียงด้านการทำถังบำบัดคุณภาพ เพื่อให้การใช้งานทนทาน ไม่สร้างปัญหาต่างๆ ภายในอนาคต และถ้านำมาติดตั้งในบ้านก็ควรเลือกเป็นแบบไม่เติมอากาศถึงจะเหมาะสม ส่วนการเลือกถังบำบัดเพื่อให้สมดุลกับการใช้งาน คือ การคำนวณด้วยสูตร จำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน x 0. 8 x ปริมาณน้ำที่ใช้ภายในบ้าน(ลิตร) x 1.5 = ขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย (ลิตร) 

       ถ้าคุณเป็นบ้านที่มีการติดตั้งบ่อเกรอะ-บ่อซึมมาอยู่แล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนมาใช้ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปแทน ถ้าต้องมีการขุดรื้อบ่อเกรอะที่อยู่ใต้ดินก็อาจทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณสูงได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือ การเปลี่ยนการบำบัดของเสียจากห้องน้ำด้านบนมาสู่ถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป แต่ห้องน้ำด้านล่างทั้งหมดให้ใช้บ่อเกรอะต่อไป แต่สำหรับบ้านที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ก็ให้หยุดการใช้บ่อเกรอะ-บ่อซึม ทำลายทิ้งแล้วเปลี่ยนเส้นทางระบายมาลงถังบำบัดน้ำเสียทั้งหมด เท่านี้คุณก็หมดกังวลเรื่องอาการท่ออืด กดชักโครกไม่ลง หรือต้องจ้างคนมาดูดเอาของเสียออกบ่อยครั้งไปได้เลย!

สร้างระบบบำบัดน้ำเสียภายในบ้านให้ถูกหลัก ควรทำอย่างไร 


ระบบบำบัดน้ำเสีย
Cr. www.scgbuildingmaterials.com 


        ก่อนที่คุณจะจ้างช่างหรือผู้ที่รับติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย ให้ลองวางแผนที่ตั้งถังบำบัดที่เหมาะสมก่อน โดยที่คุณต้องเลือกพื้นที่ที่มีทั้งความกว้างและลึกเพียงพอต่อการฝังถังลงไป และต้องคิดถึงเส้นทางที่ต้องเดินท่อ ไม่ควรเป็นจุดที่มีความซับซ้อนหรือทับกับส่วนอื่นๆ มากเกินไป ไม่เช่นนั้นการระบายจะไม่สะดวกและเสี่ยงต่อการอุดตันหรือท่อแตกหักได้ง่าย พร้อมเดินท่อให้มีความลาดชันไม่ควรต่ำกว่า 1:50 การวางตำแหน่งของถังบำบัดควรอยู่สูงกว่าท่อระบายน้ำออก นอกจากนี้ก็ควรมีการวางบ่อพักไว้ในระยะที่เหมาะสม เพื่อทำให้การระบายน้ำไม่ติดขัดและดูแลรักษาได้ง่ายอีกด้วย

ระบบบำบัดน้ำเสีย
Cr. www.scgbuildingmaterials.com

       เมื่อรู้จุดแล้วว่าควรฝังท่อไว้ที่จุดไหน ต่อไปคือการทุบเอาบ่อเกรอะเดิมออกไป แล้วปรับพื้นที่ให้เรียบร้อย เคลียร์ของเสียต่างๆ ออกไปให้หมด พร้อมกับเตรียมลงเสาเข็มและมีการเทพื้นเอาไว้ เพื่อรองรับตัวถังที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ถ้าทำตรงจุดนี้เสร็จแล้วก็ให้เติมน้ำลงไปในถังบำบัด เพื่อเป็นการหล่อตัวถังไว้ก่อนที่จะทำการฝังลงดิน เพราะภายใต้พื้นดินนั้นมีแรงอัดที่อาจทำให้ถังเกิดความเสียหายขณะฝังได้ จากนั้นทางช่างก็จะเริ่มการติดตั้งระบบน้ำเข้าท่อ โดยเริ่มจากท่อน้ำทิ้งเดิมและท่อระบายอากาศ เมื่อทำเสร็จทั้งหมดแล้ว ก็สามารถนำซีเมนต์มาปิดฝาด้านบนหรือจะปูกระเบื้องปิดเพื่อความสวยงามก็ได้เช่นกัน

ระบบบำบัดน้ำเสีย
Cr. www.novabizz.com


       ทั้งนี้ถ้าไม่ต้องการให้จุลินทรีย์ที่อยู่ภายในถังตาย ก็ไม่ควรนำน้ำในครัวต่อสายตรงลงถัง แต่ควรมีบ่อพักไขมันที่คุณสามารถตักไปทิ้งเองได้ เพราะไขมันเป็นตัวทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตายง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่สะดวกหรือไม่อยากยุ่งยากแยกถัง ก็ควรหมั่นเติมเชื้อจุลินทรีลงในถังบำบัดน้ำเสีย เพื่อทำให้ระบบภายในทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.