วันนี้จะพาไปทำความรู้จัก "โครงการบ้านประชารัฐ" เป็นโครงการดีดีที่รัฐบาลทำออกมาเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีรายได้น้อยอย่างเราๆได้มีแบบบ้านเป็นของตัวเอง หรือใครที่อยากปรับปรงุ ต่อเติมบ้าน แล้วไม่มีเงินอยากจะหาสินเชื่อสำรหับสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้าน ต่อเติมบ้าน โครงการบ้านประชารัฐจะช่วยให้คุณได้สินเชื่ออย่างง่ายเพื่อให้คุณมีบ้านเป็นของตัว babbaan.in จึงได้สรุปข้อมูลสำคัญของโครงการบ้านประชารัฐที่ควรรู้ไว้เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิ์ประโยชน์ดีดีจากรัฐบาล

โครงการบ้านประชารัฐ คืออะไร
โครงการบ้านประชารัฐ คือ นโยบายที่รัฐบาลได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีบ้านเป็นของตัวเอง โดยโครงการนี้สนับสนุนทั้งผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ (ผู้รับเหมาโครงการ) จำนวน 30,000 บ้านบาท ให้สินเชื่อผ่านทางธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์  และ ประชานชนทั่วไป (ผู้ต้องการมีบ้าน) อีกจำนวน 40,000 ล้านบาท โดยให้สินเชื่อผ่านทาง ธ.อาคารสงเคราะห์ และ ธ.ออมสิน
โครงการบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านประชารัฐ

โครงการบ้านประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง
ในปัจจุบันโครงการบ้านประชารัฐจะเป็นโครงการที่อยู่ในรูปแบบของการให้สินเชื่อ ซึ่งรูปแบบการให้สินเชื่อของธนาคารสำหรับโครงการบ้านประชารัฐนั้นสามารถแยกได้ดังนี้
- ปลูกสร้างบ้าน เป็นการปล่อยสินเชื่อให้ท่านเจ้าของบ้านได้สร้างบ้านบนพื้นที่ของท่านเองโดยแบ่งเป็นโครงการปลูกสร้างบ้านราคาไม่เกิน 700,000 บาท และโครงการปลูกสร้างบ้านราคามากกว่า 700,000 บาทแต่ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน
- ซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้าน สินเชื่อบ้านเพื่อการต่อเติมบ้านหรือซ่อมแซ่มบ้านมีวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท ดอกเบี้ย 0% นาน 1 ปี ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยแบ่งเบาภาระหลายคนได้มากเลย
- ซื้อสินทรัพย์ NPA หรือบ้านมือสองที่ธนาคารยึดมาจากลูกหนี้ในกรณีต่างซึ่ง ธอส. มีอลังหาริมทรัพย์มากถึง 2,300 รายการ
โครงการบ้านประชารัฐจะดีกว่าโครงการบ้านเอื้ออาทรตรงที่เราไม่จำเป็นต้องซื้อบ้านหน้าตาเหมือนกันจากรัฐบาล เราสามารถนำเงินมาสร้างได้บนที่ดินของเราเองซึ่งเป็นสิ่งที่่น่าสนใจ

โครงการบ้านประชารัฐ อัตราดอกเบี้ย
- วงเงินกู้ต่ำกว่า 700,000 บาท 
ปีที่ 1 ดอกเบี้ย 0%
 ปีที่ 2-3 ดอกเบี้ย 2%
 ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
 ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว

* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี แต่ของธนาคารออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–1.475%

- วงเงินกู้ 700,001-1,500,000 บาท ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 3%
 ปีที่ 4-6 ดอกเบี้ย 5%
 ปีที่ 7 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยลอยตัว 

* กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–0.75% ต่อปี สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR–1% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
 แต่กรณีปีที่ 7 เป็นต้นไป ของธนาคารออมสิน คิดอัตราดอกเบี้ย MRR–1.475% สำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป และ MRR -1.725% ต่อปี สำหรับลูกค้าสวัสดิการ
** ลูกค้าสวัสดิการคือลูกค้าที่ให้เงินเดือน ณ ที่จ่าย โดยทางการเงินของหน่วยงานนั้นหักส่งให้กับ ธอส. ซึ่งเราจะเห็นจากสลิปเงินเดือนของเราว่ามีรายการหักเงินของ ธอส. คล้ายกับการหัก ณ ที่จ่ายของสหกรณ์ฯ

โครงการบ้านประชารัฐผ่อนเท่าไหร่
กู้สินเชื่อบ้าน 700,000 บาท ผ่อน 3 ปีแรกเดือนละ 3,000 บาทเท่านั้น ส่วนปีที่ 4-6 ผ่อนเดือนละ 4,000 บาท
กู้สินเชื่อบ้าน 1,500,000 บาท ผ่อน 3 ปีแรกเดือนละ 7,200 บาท ปีที่ 4-6 ผ่อน 8,600 บาท
กู้สินเชื่อซ่อมแซมบ้าน 500,000 บาท เริ่มต้นผ่อนเดือนละ 2,100 บาท

ตารางการผ่อนชำระโครงการบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านประชารัฐ
ตารางผ่อนสินเชื่อ โครงการบ้านประชารัฐ

โครงการบ้านประชารัฐ
ตารางผ่อนสินเชื่อ โครงการบ้านประชารัฐ  1,500,000 บาท

ข้อดีของโครงการบ้านประชารัฐ
- ไม่จำกัดรายได้ผู้ขอสินเชื่อบ้าน ครอลคลุมข้าราชการพลเรือน ทหาร ตำรวจ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของบ้าน
- ดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะปีแรกคิดดอกเบี้ย 0% ต่อปี จะหาที่ไหนได้อีก
- ฟรีค่าโอนบ้าน ส่วนนี้น่าจะเป็นการซื้อสินทรัยพ์กับธนาคาร
- ผ่อนชำระสูงสุดได้ 50% ของเงินเดือน สมมุติว่ากู้ 1,500,000 บาท ผ่อนชำระ 7,200 บาท เงินเดือน 15,000 บาทก็สามารถขอสินเชื่อได้
- ลด 2% จากราคาขายบ้าน ผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่อเพื่อทำโครงการบ้านประชารัฐต้องลดราคา 2% จากราคาบ้านให้กับผู้ซื้อที่ใช้สิทธิ์โครงการบ้านประชารัฐเช่นกัน

คุณสมบัติผู้ของสินเชื่อบ้าน โครงการบ้านประชารัฐ
- อายุ 20 ปีขึ้นไป เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ ไม่เกิน 65 ปี
- ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย ยกเว้น การซ่อมแซมและ /หรือต่อเติมที่อยู่อาศัย
- ไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านที่นำมาแสดงเป็นหลักฐานการยื่นกู้กับธนาคารและต้องมีชื่อเป็น "ผู้อยู่อาศัย" ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 3 ปี ยกเว้น มีชื่อเป็นเจ้าบ้านแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้านนั้น

เอกสารที่ใช้ขอสินเชื่อบ้าน "โครงการบ้านประชารัฐ"


ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ghbank.co.th 

- บัตรประจำประชาชน/ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

- สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่

- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

- ใบรับรองเงินเดือน/หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
 (กรณีการเงินของหน่วยงานหัก ณ ที่จ่ายให้ ธนาคาร)
- สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน

- สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ) และ 12 เดือน (กรณีอาชีพอิสระ)/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ (พร้อมแสดงเอกสารฉบับจริง)

- สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ

- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้

- รูปถ่ายกิจการ

- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
*เอกสารหลักประกัน (กรณีซ์้อทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดินทุกหน้า)
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะฯ
- สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
- สำเนาโฉนดที่ดิน/น.ส.-ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2)

ธนาคารออมสิน gsb.or.th

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้และคู่สมรส

- สำเนาใบสำคัญสมรส หรือสำเนาใบแสดงการหย่า หรือสำเนาใบมรณบัตรของผู้สมรส

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอกู้และคู่สมรส

เอกสารการขอสินเชื่อบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านประชารัฐ
เอกสารขอสินเชื่อโครงการบ้านประชารัฐ
โครงการบ้านประชารัฐมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี คือจะหมดอายุในการของใช้สิทธิ์โครงการบ้านประชารัฐในวันที่ 22 มีนาคม 2561 ซึ่งรัฐบาลอาจจะขยายเวลาต่อหรือนำเงินไปทำอย่างอื่นก็ไม่ทราบแน่ชัด หรือถ้าวงเงิน 70,000 ล้านที่เตรียมไว้หมดก่อนเวลา 2 ปี คุณก็อาจจะชวดสิทธิ์การเป็นเจ้าของบ้านได้เช่นกันเพราะฉะนั้น อย่าช้า

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.