ปัญหาบ้านทรุดเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนที่มีบ้าน บัานหลังไหนที่เกิดปัญหาดินทรุดตัวจะเป็นปัญหาเรื่องรังต่อเนื่องระยะยาว
babbaan.in ได้รวบรวมข้อมูลปัญหา สาเหตุ และวิธีการแก้ไข
ซ่อมบ้านทรุดมาเป็นข้อมูลให้คนที่กำลังจะสร้างบ้านหรือสร้างบ้านแล้วเกิดปัญหาบ้านทรุดไว้เป็นแนวทางศึกษา เพราะบ้านราคาปัญหาล้านหากเกิดปัญหาบ้านทรุดมาอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบ้านมากขึ้น รวมถึงอาจจะเป็นอัตรายต่อผู้ที่อยู่อาศัยอีกด้วย
เนื้อหาข้อมูลการซ่อมบ้านทรุด
บ้านทรุดเกิดจากอะไร
สาเหตุทำให้บ้านทรุด
บ้านทรุดกี่ปี
สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด
ตอกเสาเข็มป้องกันบ้านทรุด
เสาเข็มมีกี่ประเภท
ซ่อมบ้านทรุดอย่างไร
บริษัทไหนรับแก้ไขบ้านทรุดตัวบ้านร้าว
ปัญหาบ้านทรุด พื้นทรุด เกิดจากที่ดินใต้บริเวณที่สร้างบ้านยุบตัวลงไป เป็นผลให้ฐานรากของบ้านทรุดลงไปด้วย บ้านทรุดทำให้เกิดปัญหารอยแตกร้าวของผนังบ้านและหากบ้านทรุดตัวลงลึกมากๆก็จะทำให้มีผลกระทบกับโครงสร้างบ้านอาจจะทำให้บ้านถล่มลงมาได้เช่นกัน เราจึงควรแก้ไขปัญหาบ้านทรุดอย่างทันทีไม่ควรปล่อยไว้เพราะจะยิ่งเพิ่มความเสียหายกับโครงสร้างบ้านของเรา
นอกจากปัญหาบ้านทรุดแล้วยังมีปัญหาพื้นดินยกตัวขึ้นด้วย ซึ่งปัญหาพื้นบ้านยกตัวส่วนมากจะเกิดจากการปลูกต้นไม้ใหญ่ใกล้บ้านแล้วรากของต้นไม้ชอนไชเข้าใต้พื้นบ้านของเรา เมื่อรากไม้เจริญเติบโตขึ้นมันจะดันพื้นบ้านของเราให้ยกตัวไปด้วยปัญหานี้ควรแก้ด้วยการอย่า่ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ใกล้บ้านของเรา
บ้านทรุดมีหลายสาเหตุเราไปลองดูว่าบ้านทรุดนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง
-
ดินทรุดจากปัญหาดินสไลด์ คนที่ถมที่ดินเพื่อสร้างบ้านหรือสร้างบ้านใกล้กับแม่น้ำมักจะเกิดปัญหาดินสไลด์ตัวส่งผลให้พื้นบ้านของเราทรุด บ้านที่ปลูกใกล้แม่น้ำควรทำกำแพงหรือตอกเสาเพื่อป้องกันดินสไลด์ตัวไว้ด้วย
-
ดินทรุดเกิดจากน้ำท่วม หากเกิดอุทกภัยน้ำท่วมบ้านของเราน้ำจำนวนมากจะไหลไหลใต้ดิน และอาจจะไปกัดเซาะดินใต้พื้นบ้านของเรา หรือทำให้ดินใต้พื้นบ้านของเราอ่อนตัว ทำให้เกิดปัญหาดินทรุดได้เช่นกัน
-
ดินทรุดเกิดจากบ้านที่ไม่ตอกเสาเข็ม บ้านที่สร้างบนที่ดินที่อ่อนตัวเช่นดินเหนียวหรือบ้านที่ถมดินเพื่อสร้างบ้าน ควรจะตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานรากของบ้านเพื่อไม่ให้บ้านทรุดตัว หากสร้างบ้านโดยไม่ตอกเสาเข็มก็อาจจะเกิดปัญหาดินทรุดตัวได้
-
ตอกเสาเข็มไม่ลึกพอ การตอกเสาเข็มนั้นหากตอกไม่ลึกพอลงถึงดินที่แข็ง ก็จะทำให้ตัวบ้านสามารถทรุดได้เช่นกัน การตอกเสาเข็มวิศวกรรมจะมีการคำนวณการทรุดตัวอยู่หากตอกเสาเข็ม 1 ที ต้องทรุดตัวน้อยกว่าเท่าไหร่ถึงจะไม่ต้องตอกต่อไป
-
การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ข้างบ้าน การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ที่มีการตอกเสาเข็มจะทำให้พื้นดินสะเทือนและส่งผลให้ดินรอบๆทรุดตัวได้
-
ขุดดินหรือโพรงขนาดใหญ่ข้างบ้าน การขุดดินหรือหลุมลึกใกล้กับตัวบ้านจะมีโอกาสทำให้ดินสไลด์ลงหลุมหรือโพรงที่ขุดมีผลทำให้ตัวบ้านทรุได้เช่นกัน
-
ท่อน้ำใต้ดินรั่ว บางคนเวลาสร้างบ้านอาจจะไม่รู้ว่าใต้บ้านของเรามีท่อน้ำหรือท่อปะปา ซึ่งหากท่อน้ำรั่วก็จะกัดเซาะดินทำให้บ้านทรุดตัวได้เช่นกัน
สาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดนั้นเป็นสาเหตุที่เราสามารป้องกันได้ โดยเฉพาะการวางเสาเข็มเพื่อรองรับฐานรากของตัวบ้าน เพราะฉะนั้นหากไม่อยากให้บ้านทรุดตัวควรจะหาวิธีป้องกันบ้านทรุดตัวก่อนที่จะสร้างบ้าน
พื้นดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเยอะๆในเมืองใหญ่จะมีการทรุดของพื้นดินโดยปกติอยู่แล้ว ในกรุงเทพมหานครจะมีอัตราการทรุดพื้นดินเฉลี่ยปีละ 1 เซนติเมตร และยังแบ่งออกเป็นตามเขตวิกฤษอีกด้วย
เขตวิกฤตอันดับ 1 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินมากกว่าปีละ 3 เซ็นติเมตร และระดับน้ำบาดาลลดลงมากกว่าปีละ 3 เมตร ซึ่งในกรุงเทพครอบคลุมพื้นที่ 12 เขต อาทิ มีนบุรี บางกะปิ บางเขน ดอนเมือง ลาดพร้าว ฯลฯ
เขตวิกฤตอันดับ 2 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินระหว่าง 1-3 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดลงระหว่าง 2-3 เมตรต่อปี ครอบคลุมพื้นที่ 21 เขต อาทิ บางขุนเทียน บางคอแหลม ดุสิต พระนคร ป้อมปราบบางรัก ปทุมวัน ฯลฯ
เขตวิกฤตอันดับ 3 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดน้อยลงกว่า 2 เมตร ต่อปี ซึ่งครอบคลุมเขตที่อยู่นอกเหนือ
*บางแห่งทรุดตัวมากกว่าปีละ 10 เซนติเมตร
ในส่วนของการทรุดตัวของพื้นบ้านนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าโพรงที่อยู่ใต้พื้นบ้านมีขนาดใหญ่เพียงไร และระดับความอ่อนของดินใต้พื้นบ้านหากอ่อนมากก็ทรุดตัวลงได้เร็ว แต่ถ้าเป็นดินแข็งอยู่แล้วก็จะไม่เกิดการทรุดตัวหรือทรุดตัวน้อยมาก สำหรับปัญหาบ้านทรุดกี่ปีนั้นต้องบอกได้เลยว่าถ้าไม่ทำการแก้ไขบ้านก็จะทรุดไปเรื่อยจนกว่าฐานรากจะถึงจุดที่ดินแข็งตัว
เราสามารถลดปัจจัยความเสี่ยงที่จะทำให้บ้านเรามีปัญหาบ้านทรุดเมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วได้ โดยควรหลีกเลี่ยงการสร้างบ้านในลักษณะต่อไปนี้
|
สร้างบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด |