การหกล้มนั้นมีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะสะดุดข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เดินขัดขาตนเอง หรือแม้กระทั้งลื้นตามพื้น และพอจะสรุปได้คราว ๆ ว่า สาเหตุหลักของการหกล้ม คือ พื้นที่เดินลื้นเกินไป การหกล้ม เป็นอันตรายต่อทุก ๆ คนยิ่งถ้าเป็นคนที่ค่อนข้างอ้วนเจ้าเนื้อแล้ว อาจจะพกช้ำดำเขียนได้ หลาย ๆ จุด แต่ถ้าการล้มรุนแรงศีรษะกระแทกพื้น ก็จะเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วนั้น เรื่องของการหกล้มถือว่าเป็นเรื่องที่ อันตรายอันดับ 1 ที่ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย ถ้าหกล้มขึ้นมาเมื่อไหร่นอกจากอาการพกช้ำดำเขียวแล้ว ยังอาจจะพาไปถึงกระดูกแตก กระดูกร้าวได้ด้วย เราจึงต้องช่วยกันแก้ปัญหาไม่ให้พื้นทางเดินลื้น และ บริเวณบันได้ทางขึ้นต่าง ๆ ลื้นจนเกินไป


          การทำพื้นไม่ให้ลื้นจนเกินไปนั้น มีหลายวิธี มานำเสนอ ลองดูกันว่า บ้านเราจะเหมาะกับวิธีแบบไหนแบบไหนที่จะคุ้มค่ากับการจ่ายเงินลงทุนทำมากที่สุด
แผ่นยางปูพื้นกันร้อน
แผ่นยางปูพื้นกันร้อน
1.แผ่นยางปูพื้นกันร้อน กันฝน และ กันลื้น ถ้าเรานึกถึงลักษณะของแผ่นนี้ไม่ออก ลองนึกถึงแผ่นทีวางแถวๆ บริเวณ ทางบันไดขึ้นวัด หรือ บริเวณรอบ ๆ วิหาร ที่เราจะเดินเวียนเทียน แผ่นปูพื้นลักษณะแบบนี้ เหมาะจะมาวางสำหรับทางเดิน ไม่ว่าจะเป็นทางเดินทุกมุมไหนของบ้าน ก็เหมาะสมทั้งนั้น ไม่ว่าจะมีน้ำที่หกตามพื้น หรือ แดดจะส่องพื้นร้อน เราก็จะมีตัวช่วยหลาย ๆ ทางเป็นการป้องกันปัญหาที่ดีระดับต้น ๆ  แต่แผ่นยางปูพื้นนี้ ไม่แนะนำให้ นำรถขึ้นเหยียบเพราะอาจจะฉีกขาดง่าย และ เสื่อมสภาพเร็ว

พื้นหญ้าเทียม
พื้นหญ้าเทียม
2.พื้นหญ้าเทียม การทำพื้นหญ้าเทียมไว้เดินเล่นตามสวนข้างบ้านหรือหลังบ้านก็ถือว่า เป็นการป้องกันการลื้นของพื้นได้ เพราะหญ้าเทียมมีพื้นผิวที่ไม่ลื้นมาก  และ ยังเป็นการจัดตกแต่งสวนสวยได้อีกด้วย หญ้าเทียมกำลังเป็นที่นิยมสูงมากในขณะนี้ เพราะถือเป็นการจัดตกแต่งสวนที่ต้องต้องเตรียมดิน ทนฝนทนแดด และ ไม่ต้องดูแลอะไรกันมาก

ปูพื้นด้วยไม้
ปูพื้นด้วยไม้
3.ปูพื้นด้วยไม้ พื้นไม้พื้นด้าน ถือว่าเป็นการช่วยลดการลื้นของพื้นได้ดี เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีราคาค่อนข้างสูงในปัจจุบัน การเดินบนพื้นไม้นั้น เป็นที่นิยมมาก ๆ ในบรรดาร้านกาแฟต่างๆ เพราดูมีเสน่ห์ และ ปัจจุบันยังมีการทำพื้นไม้สังเคราะห์ ที่ทำออกมาได้ ค่อนข้างดี มีร่องซึมน้ำเล็ก ๆ ทำให้น้ำเวลาที่หกลงไป ไม่ทำให้พื้นผิวลื้น ทำความสะอาดง่าย และ คงทน จึงเป็นทางเลือกใหม่ ๆ สำหรับคนที่รักงานไม้

ปูกะเบื้องผิวหยาบ
ปูกะเบื้องผิวหยาบ
4.ปูกะเบื้องผิวหยาบ ๆ กะเบื้องผิวหยาบ ๆ ก็ช่วยในการลดปัญหาการลื้นได้ ปัจจุบัน กะเบื้องได้สร้างออกมาเพื่อรองรับการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ได้มากมายหลายรูปแบบ จึงเป็นทางเลือกที่ดีไม่ใช้น้อย สำหรับคนชอบตกแต่งบ้าน


เทพื้นแบบไม่ขัดมัน
เทพื้นแบบไม่ขัดมัน
5.เทพื้นแบบไม่ขัดมัน ก็คงยังคงเป็นที่นิยมสูงสุด ที่สามารถใช้ได้กับทุก ๆ งานไม่ว่าการทำลานจอดรถ สนามกีฬาเล็ก ๆ หรือพื้นที่ต้องการที่จะใช้สอยแบบอรรถประโยชน์ เราก็ยังคงใช้บริการในการเทพื้นแบบไม่ขัดมันกันแทบทุกพื้นที่ แต่ต้องเทพื้นให้เรียบเสมอกัน ไม่ขัดพื้นผิวให้มีความมันวาวจนเกินไป เพราะถ้ารองเท้าลื่น หรือ มีน้ำขังอยู่เพียงเล็กน้อย ก็อาจจะเป็นสาเหตุทำให้ เกิดอุบัติเหตุลื้นหกล้มได้

แล้วการแก้ปัญหาตรงบริเวณบันได้นั้น ต้องระวังตรงส่วนใดบ้าง การต่อเติมส่วนป้องกัน ใช้งบประมาณเท่าไหร่

1.ต้องสร้างบันได้ให้มีขนาดความกว้างอย่างพอเหมาะ ตรงปลายของบันได้ ควรติดแผ่นกันลื้น เพื่อป้องกันการลื้นในระหว่างการก้าว หรือ เหยียบไม่เต็มขั้นบันได้ ตรงนี้จะมีส่วนช่วยได้มาก แผ่นกันลื้นเป็นลักษณะพลาสติกที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก ติดเฉพาะบริเวณตรงส่วนปลายบันได้แต่ละขั้นเท่านั้น ราคาไม่แพง คิดเป็นต่อขั้นหลักสิบ เท่านั้นเอง

2.ทำราวบันได้ในการช่วยพยุง ตรงนี้ เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่จะช่วยในการพยุงตัว และ ป้องกันการลื้นด้วยแล้ว ยังสามารถเป็นตัวช่วยในการที่เราอาจจะพลาดลื้นตรงบันไดได้ราวบันได้นี้จะช่วย พยุงไม่ให้เราล้มแบบเต็มตัวได้ด้วย การทำราวพยุง วัสดุในการทำก็มีให้เลือก ทั้งเหล็ก ไม้ อลูมิเนียม ตรงนี้ แล้วแต่ความขอบของแต่ละบุคคล สนนราคาเริ่มต้นที่ หลักพัน

3.การทำให้พื้นมีรอยหยาบ ๆ พอที่จะสัมผัสได้ แม้ว่าจะมีน้ำหกหรือ น้ำขัง ผลของพื้นที่ไม่เรียบลื้นจนเกินไป จะส่งผลให้การเดินของเรามั่นใจขึ้น ไม่ทำให้ต้องระแวงในเวลาเดิน

             มาถึงตรงนี้ คงพอจะมีทางเลือกดี ๆ สำหรับ หลาย ๆท่านที่กำลังมองหาอยู่ว่า วิธีการทำพื้นแบบไหน จะเหมาะสมกับเราที่สุด แต่ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน เราก็ควรต้องเดินอย่างระมัดระวัง ไม่เดินในทางที่เรารู้ว่ามีอุปสรรค มีทางลื้นทางน้ำ ตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่เราให้เราปลอดภัยมากที่สุด  ในการเดินเราก็ควรจะหารองเท้าที่มีพื้นรองเท้าสามารถป้องกันการลื้นไว้ได้บ้าง ถ้ารองเท้าของเรา ใส่พอดี กระชับ แถมพื้นรองเท้ากันลื้นด้วย ปัญหาที่เราจะพลาดพลังในการหกล้มก็คงจะลดน้อยถอยลงไป

Post A Comment:

0 comments:

babbaan.in V. Powered by Blogger.